เฟซบุ๊กทนายคู่ใจ แชร์ข้อกฎหมายที่ลูกจ้างควรรู้ คุ้มครอง "คนมาสาย" นายจ้างหักเงินไม่ได้ แต่นายจ้างมีสิทธิ์ "ไม่ทำงาน ไม่จ่าย"...
เฟซบุ๊กเพจ "ทนายคู่ใจ" ได้โพสต์ข้อกฎหมาย เกี่ยวกับการมาสาย ที่ลูกจ้างควรรู้ จะได้ไม่ถูกนายจ้างเอาเปรียบ
โดยระบุว่า "กฎหมายคุ้มครองสำหรับคนมาสาย
1. นายจ้างหักเงินค่าจ้าง จากเหตุมาสายไม่ได้ ผิดกฎหมายแรงงานฝ
1. นายจ้างหักเงินค่าจ้าง จากเหตุมาสายไม่ได้ ผิดกฎหมายแรงงานฝ
2. มาสาย 5 นาทีจะมาลงว่าเรามาสาย 30 นาทีไม่ได้ สายเท่าไรลงเท่านั้นเพราะมันมีผลต่ออัตราเงินเดือน จะมาหักเรา 30 นาทีไม่ได้
3. มาสาย 3 วันหัก 1 วัน แบบนี้ก็ทำไม่ได้ผิดกฎหมายแรงงาน
4. มาสายแล้วไล่ออกเลยก็ไม่ได้ ถ้าจะไล่ออกต้องทำหนังสือเตือนมาตามแต่ระเบียบ
ของบริษัทจะประกาศไว้
ของบริษัทจะประกาศไว้
5. มาสายแล้วบังคับทำโอที อันนี้ก็ไม่ได้ เพราะโอทีคือความสมัครใจของลูกจ้าง
6. มาสายแล้วต้องโดนทำโทษ มันไม่มีเหมือนสมัยเรียน
แต่ทั้งนี้ นายจ้างก็อาจจะเลือกใช้สิทธิ์ No work No Pay คือไม่ทำงานก็ไม่จ่ายเงิน ซึ่งก็เป็นสิทธิ์ของนายจ้างที่จะทำได้ เช่น คำนวณสะสมระยะเวลามาสายในแต่ละเดือนว่ารวมแล้วกี่ชั่วโมงเพื่อมาคำนวณเวลาที่หายไปของลูกจ้างต่ออัตราค่าจ้างเฉลี่ยต่อชั่วโมง เป็นต้น
พร้อมระบุด้วยว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 76 ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักเพื่อ
มาตรา 144 นายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ.