Custom Search

ไททันโนโบอา (Titanoboa) เป็นนักล่าแห่งโลกดึกดำบรรพ์ที่น่าหวาดหวั่น

มีรูปร่างลักษณะและมีพฤติกรรมคล้ายงูอนาคอนดาซึ่งปัจจุบันพบในป่าดิบชื้นในทวีปอเมริกาใต้ โดยหากินในน้ำ

ซึ่งอาหารได้แก่ จระเข้และปลาขนาดใหญ่ มีลักษณะคล้ายคลึงกับงูอนาคอนดา แต่ทว่ามีความยาวกกว่ามาก

โดยมีความยาวเฉลี่ยประมาณ 13.5 เมตร และอาจยาวได้ถึง 15 เมตร หนักถึง 2.6 ตัน โดยชื่อของมันเป็นภาษาลาติน แปลได้ว่า “งูยักษ์จากแซร์อาโฮน”

ทำให้ไททันโนโบอากลายเป็นหนึ่งในสัตว์เลื้อยคลานที่น่าเกรงขามที่สุด

เท่าที่เคยอาศัยอยู่ในโลกใบนี้โดยฟอสซิลของงูยักษ์ชนิดนี้ถูกขุดพบครั้งแรกในเหมืองถ่านหินเคอเรยอน ที่ ลา กูเอจิรา ประเทศโคลัมเบีย

เมื่อยังมีชีวิต เจ้าของฟอสซิลนี้ มีความยาวถึง 12.8 เมตร และหนักราว 1,135 กิโลกรัม ซึ่งด้วยความใหญ่โตของมัน ทำให้มันถูกเรียกว่า “ไททันโนโบอา” อย่างไรก็ตาม

เนื่องจากสัตว์จำพวกงูจะมีการเติบโตขึ้นไปเรื่อยๆ จนตลอดชีวิตของมัน ทำให้นักวิทยาศาสตร์คาดว่า

งูชนิดนี้อาจเติบโตจนมีความยาวได้ถึง 15 เมตรและหนักเกินกว่า 2,600 กิโลกรัม ให้ลองคิดถึงรถบัสคันโตๆ ยังยาวแค่ 9 เมตรเท่านั้นเอง

ด้วยขนาดที่ใหญ่มากจึงทำให้มันเป็นนักล่าที่น่าเกรงขามที่สุดของอเมริกาใต้ในยุคนั้นและยังครองตำแหน่งงูที่ใหญ่ที่สุดยาวที่สุด และหนักที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์โลกอีกด้วย

ทั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้งูยักษ์เกิดขึ้นมาได้นั้น ก็เนื่องมาจากสภาพอากาศในยุคพาลีโอซีนที่อบอุ่นขึ้นกว่าในโลกปัจจุบันมาก

ทำให้สัตว์เลื้อยคลานสามารถเติบโตขยายขนาดจนกลายเป็นสัตว์ยักษ์ได้

โดยในยุคนี้ นอกจากงูยักษ์แล้ว ยังมีเต่ายักษ์ที่มีขนาดเท่ารถยนต์และจระเข้ยักษ์หลายชนิดที่ยาวถึงเจ็ดเมตรอีกด้วย

ในยุคที่ไททันโนโบอาดำรงชีวิตอยู่ พื้นที่ส่วนใหญ่ของทวีปอเมริกาใต้เป็นป่าดงดิบเหมือนเช่นป่าอเมซอนในปัจจุบัน

นักวิทยาศาสตร์คิดว่า งูยักษ์ชนิดนี้น่าจะใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในลำน้ำมากกว่าบนบก เนื่องด้วยน้ำจะช่วยพยุงขนาดร่างกายที่ใหญ่โตของมันได้

และยังทำให้สามารถเคลื่อนที่ไปมาได้อย่างรวดเร็ว

รวมทั้งการอาศัยอยู่ในน้ำยังสามารถพรางตัวใต้น้ำยามที่จะล่าเหยื่อได้ด้วย โดยเหยื่อของไททันโนโบอา ได้แก่

ปลาขนาดใหญ่และสัตว์ในกลุ่มจระเข้โบราณอย่าง เซอเรคอนนิซูคัส และอาคีรอนทีซูคัส

ที่มีความยาวหกถึงเจ็ดเมตรและถือเป็นนักล่าที่น่าเกรงขามอีกพวกหนึ่ง

แต่เมื่อเทียบขนาดกับ ไททันโนโบอาที่โตเต็มที่แล้ว พวกมันก็เป็นแค่อาหารคำโตเท่านั้น

โดยนักวิทยาศาสตร์คิดว่า ไททันโนโบอาน่าจะล่าเหยื่อด้วยการซุ่มโจมตีและใช้ขากรรไกรที่ทรงพลังงับเหยื่อก่อนจะกลืนลงท้อง

แทนการใช้ลำตัวรัดจนเหยื่อขาดใจแล้วจึงกลืนลงไปแบบงูอนาคอนดาและงูหลามในปัจจุบัน

การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่ทำให้อุณหภูมิโลกเริ่มลดลง ทำให้สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง

และได้ส่งผลให้งูยักษ์กับสัตว์เลื้อยคลานขนาดยักษ์ต้องสูญพันธุ์ไป

อย่างไรก็ตาม ในบางพื้นที่ของทวีปอเมริกาใต้ เช่นตอนในของป่าดงดิบลุ่มแม่น้ำอเมซอน สภาพแวดล้อมยังคงเป็นดังที่เคยเป็นเมื่อหลายสิบล้านปีก่อน

จึงเป็นไปได้ว่า งูยักษ์อาจยังคงสืบทอดเผ่าพันธุ์ของมันและรอวันที่จะปรากฏตัวขึ้นอีกครั้ง ก็เป็นได้

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

รายการบล็อกของฉัน