Custom Search

กบดอยช้างสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกไม่มีคุณลักษณะพิเศษแตกต่างจากกบธรรมดาถูกค้นพบครั้งแรกที่ดอยช้าง


กบดอยช้างสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกไม่มีคุณลักษณะพิเศษแตกต่างจากกบธรรมดาถูกค้นพบครั้งแรกที่ดอยช้าง

สปีชีส์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ
กบดอยช้าง (อังกฤษ: Doichang frog; ชื่อวิทยาศาสตร์: Nanorana aenea) สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชนิดหนึ่ง จำพวกกบ จัดเป็นกบขนาดเล็ก มีความยาวจากปลายจมูกถึงปลายก้น 35–38 มิลลิเมตร หัวกว้างกว่ายาว ปลายจมูกมนกลม สันบนจมูกหักมุมเด่นชัด 


รูจมูกอยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางระหว่างตากับปลายจมูก ระยะระหว่างตาแคบกว่าความกว้างของเปลือกตา แผ่นหูขนาดเล็กกว่าครึ่งหนึ่งของความกว้างของตาและเห็นไม่ชัดเจนนัก นิ้วตีนนิ้วแรกยาวไล่เลี่ยกับนิ้วที่สอง


ขาหลังยาวเมื่อเหยียดไปทางด้านหน้า รอยต่อของต้นขากับแข้งอยู่เลยปลายจมูก มีปุ่นที่ฝ่าตีนเพียงปุ่มเดียว ผิวลำตัวเรียบ สันด้านข้างลำตัวเริ่มที่หลังเปลือกตาหลังพาดตลอดความยาวตัวแล้วเข้ามาเชื่อมกับสันอีกด้านหนึ่งตรงเหนือรูทวาร ลำตัวออกสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมดำ สันด้านข้างลำตัวสีขาว 

มีขลิบสีดำตรงบริเวณหัวและไหล่ ริมฝีปากสีดำมีลายแต้มสีขาว ด้านข้างลำตัวมีจุดสีดำสนิท ขาทั้ง 4 ข้างมีลายพาดขวางสีดำ ใต้ท้องออกสีเหลือง ใต้คางมีลายกระละเอียดสีดำ มีจุดสีดำกระจายห่าง ๆ กันใต้ท้องและใต้ขา


กบดอยช้าง ถูกค้นพบครั้งแรกที่ดอยช้าง ตรงรอยต่อระหว่างจังหวัดเชียงใหม่กับเชียงราย เมื่อปี ค.ศ. 1922 ในระดับความสูง 1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล ต่อมาได้มีการค้นพบอีกที่ดอยอินทนนท์ จึงจัดเป็นสัตว์เฉพาะถิ่น แต่ต่อมาได้มีการค้นพบอีกที่ดอยฟานซีปัง ในประเทศเวียดนาม และ เขตอนุรักษ์ธรรมชาติหวงเหลียนชาน มณฑลยูนนาน ประเทศจีน ในประเทศไทยจัดว่าเป็นสัตว์น้ำคุ้มครองโดยกรมประมง

ญี่ปุ่นรายงานว่าปีนี้ประชาชนถูกหมีทำร้ายเพิ่มขึ้นอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน คาดเพราะปีนี้อาหารสำหรับจำศีลมีไม่มากพอ


ญี่ปุ่นรายงานว่าปีนี้ประชาชนถูกหมีทำร้ายเพิ่มขึ้นอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน คาดเพราะปีนี้อาหารสำหรับจำศีลมีไม่มากพอ

เหตุการณ์นี้ที่ญี่ปุ่นประชาชนถูกหมีทำร้ายเพิ่มขึ้นอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน คาดเพราะปีนี้อาหารสำหรับจำศีลมีไม่มากพอ 

ก็แน่นอนนะครับถ้าหมี มันอดอยากปากแห้งมันก็ต้องไปขนขวายออกหากิน


เมื่อหากินไม่ได้มันก็เข้าไปที่ชุมชนแล้วก็เข้ามาในหมู่บ้านที่มีมนุษย์อาศัยอยู่

หมีมันทำมาหากินเองไม่ได้มันก็จะต้องมาทำร้ายคนเป็นธรรมดาไม่ต่างอะไรกับเสือหรือว่าหมาขี้เรื้อน ทว่าเมื่อมันหิวอดโซ มันก็จะต้องเข้ามาหากิน ทำร้ายทำลายพืชพันธุ์ แม้แต่ละขโมยสิ่งของอาหารของ ของมนุษย์ ตัวอย่างลิงแถวบ้านเราก็มีนะครับที่ออกมาขโมย อาหาร มาทำลายสิ่งของตามบ้านเรือนชาวบ้านมีให้เห็นเป็นประจำ


เมื่อวันอาทิตย์ 22 ตุลาคม 2023 สื่อท้องถิ่นญี่ปุ่นรายงานว่าปีนี้ประชาชนถูกหมีทำร้ายเพิ่มขึ้นอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน คาดเพราะปีนี้อาหารสำหรับจำศีลมีไม่มากพอ หมีต้องออกมาหาอาหารและเร่รอนไกลกว่าเดิม


ข้อมูลจากกระทรวงสิ่งแวดล้อมระบุว่ามีประชาชนถูกหมีทำร้ายทั้งหมด 109 ราย ซึ่งเสียชีวิตสองราย ระหว่างเดือนเมษายน-กันยายน โดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ภาคเหนือของเกาะหลักฮอนชู

รายงานระบุว่าตัวเลขนี้ถือว่าสูงสุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันตั้งแต่ปีงบประมาณ 2007 ซึ่งเริ่มมีการบันทึกสถิติรายเดือนของเหตุหมีทำร้ายมนุษย์ในญี่ปุ่น

เหตุหมีทำร้ายมนุษย์เกิดขึ้นใน 15 จาก 47 จังหวัดของญี่ปุ่นในช่วง 6 เดือน นับจากเดือนเมษายน โดยราวร้อยละ 70 เกิดขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ

จังหวัดอากิตะมีผู้ถูกหมีทำร้ายมากที่สุด จำนวน 28 ราย ตามด้วยจังหวัดอิวาเตะ (27 ราย) และจังหวัดฟุกุชิมะ (13 ราย)


คาดว่าสาเหตุของการออกมาของหมีคือการที่ฤดูถั่วของญี่ปุ่นในปีนี้ไม่อุดมสมบูรณ์ เพราะสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ทำให้หมีออกเร่ร่อนไกลขึ้นกว่าเดิม และใกล้กับที่อยู่อาศัยของมนุษย์ เพื่อหาอาหารกินขณะพวกมันเตรียมเข้าสู่ช่วงจำศีล


ทั้งนี้ ปีงบประมาณ 2020 เป็นปีที่ญี่ปุ่นพบเหตุมนุษย์ถูกหมีทำร้ายสูงสุด จำนวน 158 ราย โดยหมีดำเอเชียและหมีสีน้ำตาล

มหาวิทยาลัยมหิดลพบอีกคุณสมบัติอันน่ามหัศจรรย์ของ "มอสส์ทองแดง" มอสส์หายาก สามารถใช้ในการบำบัดโลหะหนักได้


มหาวิทยาลัยมหิดลพบอีกคุณสมบัติอันน่ามหัศจรรย์ของ "มอสส์ทองแดง" มอสส์หายาก สามารถใช้ในการบำบัดโลหะหนักได้


ข่าวดีสำหรับประเทศไทยนะครับที่สามารถค้นพบ "มอสส์ทองแดง" มอสส์หายาก สามารถใช้ในการบำบัดโลหะหนักได้ ซึ่งเหมาะในการนำมาใช้เป็นพืชบำบัดโลหะหนัก และดัชนีชีวภาพได้


มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ พบอีกคุณสมบัติอันน่ามหัศจรรย์ของ "มอสส์ทองแดง" (Rare copper moss; Scopelophila cataractae) ซึ่งเป็นชนิดมอสส์หายาก สามารถใช้ในการบำบัดโลหะหนักได้

รองศาสตราจารย์ ดร.วีระเดช มีอินเกิด อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเกษตรและสิ่งแวดล้อม โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงการค้นพบพืชจิ๋ว "มอสส์ทองแดง" ที่สามารถใช้ในการบำบัดโลหะหนัก 

จนได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติหลายครั้งในเวลาต่อมาว่า โดยได้ค้นพบขณะลงพื้นที่ภาคสนามบริเวณน้ำตก - ลำธาร วัดผาลาด ดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมนักวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย อาจารย์ ดร.นรินทร์ พรินทรากุล

รองศาสตราจารย์ ดร.วีระเดช มีอินเกิด เล่าว่า ได้เก็บตัวอย่างมอสส์ทองแดง มาศึกษาต่อในห้องปฏิบัติการเพื่อดูโครงสร้าง และโอกาสการนำไปใช้ประโยชน์ โดยพบว่ามอสส์ทองแดง แม้จะจัดเป็น “พืชจิ๋ว” แต่ก็มีความทนทาน ปรับตัวได้ และสามารถใช้บำบัดโลหะหนักชนิดต่างๆ อาทิ ทองแดง และแคดเมียม เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้เป็นดัชนีชีวภาพเพื่อประเมินผลกระทบมลภาวะที่เกิดขึ้นจากมนุษย์

เนื่องด้วยมอสส์ทองแดง มีโครงสร้างที่ไร้ผนังเคลือบเซลล์ จึงทำให้สามารถดูดดึงเอาโลหะหนัก และสะสมเข้าไปเก็บไว้ในเซลล์ได้เป็นจำนวนมากถึงประมาณ 1 หมื่นมิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม (มิลลิกรัม/กิโลกรัม) ซึ่งถือว่ามีศักยภาพสูงกว่าพืชที่มีขนาดใหญ่กว่า 


โดยทีมวิจัยยังดำเนินงานวิจัยเพื่อตรวจสอบศักยภาพของมอสส์อีกหลายชนิด ในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ตาว อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ซึ่งมีรายงานการปนเปื้อนแคดเมียม และสังกะสี เป็นระยะเวลาหลายสิบปี จากการสำรวจ ยังพบมอสส์ชนิด Bryum coronatum ที่สะสมปริมาณสังกะสีในเนื้อเยื่อมากกว่า 300,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และ Philonotis thwitessii สะสมปริมาณแคดเมียมถึง 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ซึ่งเหมาะในการนำมาใช้เป็นพืชบำบัดโลหะหนัก และดัชนีชีวภาพได้


ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยมหิดล โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ จึงได้จัดบริการวิชาการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ประชาชนชาวนครสวรรค์ และผู้สนใจ ให้ได้เรียนรู้ถึงวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อขยายพันธุ์ "พืชจิ๋ว" เพื่อสร้างรายได้ และความยั่งยืนให้แก่ชุมชน

นักวิจัยจึงได้ผุดไอเดียสุดเจ๋งขวดแปลงขวดพลาสติกรีไซเคิลทดลองให้เป็นวานิลลิน!!กำหนดรสชาติและกลิ่นของวานิลลา


นักวิจัยจึงได้ผุดไอเดียสุดเจ๋งขวดแปลงขวดพลาสติกรีไซเคิลทดลองให้เป็นวานิลลิน!!กำหนดรสชาติและกลิ่นของวานิลลา

ก็ทำกันไปนะครับรีไซเคิลกันไปขยะพลาสติกมันก็ล้นโลกอยู่ดีละ


แต่ก็ยังดีที่ไม่ได้อยู่เฉยๆทุรนทุรายทำทดลองกันไปสักวันหนึ่งอาจจะกำจัดขยะเอามารีไซเคิลให้เป็นประโยชน์จริงๆจังๆได้อย่างตัวอย่างข่าวนี้นะครับ

รู้หรือไม่ว่า มีเพียง 14% ของขวดพลาสติกเท่านั้นที่ถูกรีไซเคิล! และขวดรีไซเคิลเหล่านั้นสามารถเปลี่ยนเป็นเส้นใยทึบแสงสำหรับเสื้อผ้าหรือพรมเท่านั้น มันคงจะดีเนอะ ถ้าเราสามารถเพิ่มมูลค่า และหาวิธีใหม่ ๆ ที่ใช้ในการรีไซเคิลขยะพลาสติกเหล่านั้นได้ เพราะปัจจุบันพลาสติกสูญเสียมูลค่าประมาณ 95% เป็นวัสดุหลังจากใช้เพียงครั้งเดียว!



ล่าสุด นักวิจัยจึงได้ผุดไอเดียสุดเจ๋งเพื่อพัฒนาเอนไซม์ตัวหนึ่งขึ้นมา ทำหน้าที่ช่วยย่อยสลายพอลิเมอร์โพลิเอทิลีนเทเรพทาเลตที่ใช้ผลิตขวดเครื่องดื่มออกเป็นหน่วยพื้นฐานคือกรดเทเรฟทาลิก (TA) และทดลองดัดแปลงให้เป็นวานิลลิน!!

ว่าแต่ วานิลลิน  (Vanillin) คืออะไรกันนะ ?
วานิลลิน หรือที่เราคุ้นชินว่ามันเป็นสารที่กำหนดรสชาติและกลิ่นของวานิลลา ซึ่งสกัดมาจากวานิลลาบีน (Vanilla Bean) วานิลลินนี้เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องสำอางเป็นอย่างมาก  และที่สำคัญน้องคนนี้ยังเป็นกำลังสำคัญในการใช้ผลิตยา ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด และสารกำจัดวัชพืช 
.
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ วานิลลินกำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากสำหรับโลกของเราสุด ๆ จากสถิติเผยว่า ในปี 2018 โลกมีความต้องการวานิลลินอยู่ที่ 37,000 ตัน ซึ่งเกินความคาดหมาย และจำนวนเมล็ดวานิลลาบีนในธรรมชาติก็มีไม่เพียงพอในการผลิตวานิลลินออกมา 


ปัจจุบัน วานิลลินประมาณ 85% จึงถูกสังเคราะห์จากสารเคมีที่ได้จากเชื้อเพลิงฟอสซิล ดังนั้น กลิ่นของวานิลลาที่เราใช้กันจะมีสองแบบ คือกลิ่นที่จากธรรมชาติจริง ๆ จะมีส่วนประกอบของวานิลลินจากธรรมชาติอย่างเดียว  และกลิ่นเลียนแบบที่ทำจากวานิลลินสังเคราะห์

Joanna Sadler จาก University of Edinburgh, หนึ่งในผู้ร่วมขบวนการกล่าวว่า “นี่เป็นตัวอย่างแรกของการใช้ระบบชีวภาพในการเปลี่ยนขยะพลาสติกให้เป็นสารเคมีทางอุตสาหกรรมที่มีคุณค่า และมีผลกระทบที่น่าตื่นเต้นมากสำหรับเศรษฐกิจหมุนเวียน”


Stephen Wallace จากมหาวิทยาลัยเอดินบะระกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า "งานของเราท้าทายการรับรู้ว่าพลาสติกเป็นขยะที่มีปัญหา และแทนที่จะแสดงให้เห็นถึงการใช้เป็นแหล่งคาร์บอนใหม่ซึ่งสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงได้"

งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Green Chemistry ยังได้อธิบายเพิ่มอีกว่า เราสามารถใช้แบคทีเรีย E.coli (ที่ดัดแปลงพันธุกรรมแล้ว) มาเข้ากระบวนการเปลี่ยน TA เป็นวานิลลินได้!

หลังจากการซุ่มทดลองของเหล่านักวิทยาศาสตร์ โดยเริ่มจากการอุ่นน้ำหมักจุลินทรีย์ไว้ที่ 37 องศาเซลเซียสในหนึ่งวัน (ซึ่งเป็นวิธีการเดียวกับการต้มเบียร์)  สามารถเปลี่ยน 79% ของ สาร TA เป็นวานิลลินได้อย่างน่าอัศจรรย์

ผลการคิดค้นสุดเจ๋งในครั้งนี้ นอกจากจะเพิ่มคุณค่าของขยะพลาสติกให้เป็นสารเคมีที่สร้างประโยชน์แก่ทางอุตสาหกรรมและตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแล้ว อีกทั้งยังเป็นการใช้ทรัพยากรขยะที่ตกค้างให้คุ้มค่า และสร้างสรรค์มากที่สุด ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกุญแจสำคัญในการแก้ไขปัญหามลพิษพลาสติกทั่วโลก

ที่มาของอุโมงค์เต่าลอดใต้รางรถไฟ ในญี่ปุ่น

ที่มาของอุโมงค์เต่าลอดใต้รางรถไฟ
ในญี่ปุ่น

นี่ก็อาจจะเป็นผลงานสร้างสรรค์ในเชิงปัญหาเฉพาะหน้าแบบขอไปที


เพื่อทำให้เต่าได้มีชีวิตรอดในขณะที่มนุษย์ไปเบียดเบียนที่อยู่ของเต่าสร้างทางรถไฟขวางทางเดินเต่าสุดท้ายเตาก็โดนรถไฟทับขี้แตกขี้แตนตายไปมากมาย

และนี่ก็ยังเป็นที่มาของอุโมงค์เต่ารอดใต้รางรถไฟเมื่อวิศวกรการรถไฟในญี่ปุ่นสร้างอุโมงค์ใต้รางรถไฟให้เต่าลอด เพื่อป้องกันไม่ให้เต่าที่กำลังเดินต้วมเตี้ยมถูกรถไฟฆ่า ขณะข้ามรางรถไฟ


ที่พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ Suma Aqualife Park ย่านชานเมืองโกเบ จังหวัดเฮียวโงะ ประเทศญี่ปุ่น แก้ปัญหารถไฟต้องรอเต่าข้ามด้วยการสร้างอุโมงค์ให้เต่าลอดอย่างปลอดภัย


เมื่อปี 2002-2014 West Japan Railway officials เผยว่า รถไฟญี่ปุ่น 13 ขบวนขัดข้องและดีเลย์ หลังจากที่เต่ามาเดินที่ทางรถไฟและตกลงไปในช่องว่างระหว่างสวิตช์รางและตาย วิศวกรการรถไฟในญี่ปุ่นเลยสร้างอุโมงค์ใต้รางรถไฟให้เต่าลอด เพื่อป้องกันไม่ให้เต่าที่กำลังเดินต้วมเตี้ยมถูกรถไฟฆ่า ขณะข้ามรางรถไฟ


แต่ทางเจ้าหน้าที่การรถไฟก็ต้อยคอยตรวจสอบคูน้ำเป็นประจำ เพื่อหาสัตว์เลื้อยคลานที่ยังหลงมาที่รางรถไฟอยู่ เพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์ได้รับอันตราย สัตว์ที่พบจะถูกนำออกและส่งไปที่พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำแทน

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

รายการบล็อกของฉัน