Custom Search

นักวิจัยจึงได้ผุดไอเดียสุดเจ๋งขวดแปลงขวดพลาสติกรีไซเคิลทดลองให้เป็นวานิลลิน!!กำหนดรสชาติและกลิ่นของวานิลลา


นักวิจัยจึงได้ผุดไอเดียสุดเจ๋งขวดแปลงขวดพลาสติกรีไซเคิลทดลองให้เป็นวานิลลิน!!กำหนดรสชาติและกลิ่นของวานิลลา

ก็ทำกันไปนะครับรีไซเคิลกันไปขยะพลาสติกมันก็ล้นโลกอยู่ดีละ


แต่ก็ยังดีที่ไม่ได้อยู่เฉยๆทุรนทุรายทำทดลองกันไปสักวันหนึ่งอาจจะกำจัดขยะเอามารีไซเคิลให้เป็นประโยชน์จริงๆจังๆได้อย่างตัวอย่างข่าวนี้นะครับ

รู้หรือไม่ว่า มีเพียง 14% ของขวดพลาสติกเท่านั้นที่ถูกรีไซเคิล! และขวดรีไซเคิลเหล่านั้นสามารถเปลี่ยนเป็นเส้นใยทึบแสงสำหรับเสื้อผ้าหรือพรมเท่านั้น มันคงจะดีเนอะ ถ้าเราสามารถเพิ่มมูลค่า และหาวิธีใหม่ ๆ ที่ใช้ในการรีไซเคิลขยะพลาสติกเหล่านั้นได้ เพราะปัจจุบันพลาสติกสูญเสียมูลค่าประมาณ 95% เป็นวัสดุหลังจากใช้เพียงครั้งเดียว!



ล่าสุด นักวิจัยจึงได้ผุดไอเดียสุดเจ๋งเพื่อพัฒนาเอนไซม์ตัวหนึ่งขึ้นมา ทำหน้าที่ช่วยย่อยสลายพอลิเมอร์โพลิเอทิลีนเทเรพทาเลตที่ใช้ผลิตขวดเครื่องดื่มออกเป็นหน่วยพื้นฐานคือกรดเทเรฟทาลิก (TA) และทดลองดัดแปลงให้เป็นวานิลลิน!!

ว่าแต่ วานิลลิน  (Vanillin) คืออะไรกันนะ ?
วานิลลิน หรือที่เราคุ้นชินว่ามันเป็นสารที่กำหนดรสชาติและกลิ่นของวานิลลา ซึ่งสกัดมาจากวานิลลาบีน (Vanilla Bean) วานิลลินนี้เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องสำอางเป็นอย่างมาก  และที่สำคัญน้องคนนี้ยังเป็นกำลังสำคัญในการใช้ผลิตยา ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด และสารกำจัดวัชพืช 
.
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ วานิลลินกำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากสำหรับโลกของเราสุด ๆ จากสถิติเผยว่า ในปี 2018 โลกมีความต้องการวานิลลินอยู่ที่ 37,000 ตัน ซึ่งเกินความคาดหมาย และจำนวนเมล็ดวานิลลาบีนในธรรมชาติก็มีไม่เพียงพอในการผลิตวานิลลินออกมา 


ปัจจุบัน วานิลลินประมาณ 85% จึงถูกสังเคราะห์จากสารเคมีที่ได้จากเชื้อเพลิงฟอสซิล ดังนั้น กลิ่นของวานิลลาที่เราใช้กันจะมีสองแบบ คือกลิ่นที่จากธรรมชาติจริง ๆ จะมีส่วนประกอบของวานิลลินจากธรรมชาติอย่างเดียว  และกลิ่นเลียนแบบที่ทำจากวานิลลินสังเคราะห์

Joanna Sadler จาก University of Edinburgh, หนึ่งในผู้ร่วมขบวนการกล่าวว่า “นี่เป็นตัวอย่างแรกของการใช้ระบบชีวภาพในการเปลี่ยนขยะพลาสติกให้เป็นสารเคมีทางอุตสาหกรรมที่มีคุณค่า และมีผลกระทบที่น่าตื่นเต้นมากสำหรับเศรษฐกิจหมุนเวียน”


Stephen Wallace จากมหาวิทยาลัยเอดินบะระกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า "งานของเราท้าทายการรับรู้ว่าพลาสติกเป็นขยะที่มีปัญหา และแทนที่จะแสดงให้เห็นถึงการใช้เป็นแหล่งคาร์บอนใหม่ซึ่งสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงได้"

งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Green Chemistry ยังได้อธิบายเพิ่มอีกว่า เราสามารถใช้แบคทีเรีย E.coli (ที่ดัดแปลงพันธุกรรมแล้ว) มาเข้ากระบวนการเปลี่ยน TA เป็นวานิลลินได้!

หลังจากการซุ่มทดลองของเหล่านักวิทยาศาสตร์ โดยเริ่มจากการอุ่นน้ำหมักจุลินทรีย์ไว้ที่ 37 องศาเซลเซียสในหนึ่งวัน (ซึ่งเป็นวิธีการเดียวกับการต้มเบียร์)  สามารถเปลี่ยน 79% ของ สาร TA เป็นวานิลลินได้อย่างน่าอัศจรรย์

ผลการคิดค้นสุดเจ๋งในครั้งนี้ นอกจากจะเพิ่มคุณค่าของขยะพลาสติกให้เป็นสารเคมีที่สร้างประโยชน์แก่ทางอุตสาหกรรมและตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแล้ว อีกทั้งยังเป็นการใช้ทรัพยากรขยะที่ตกค้างให้คุ้มค่า และสร้างสรรค์มากที่สุด ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกุญแจสำคัญในการแก้ไขปัญหามลพิษพลาสติกทั่วโลก

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

รายการบล็อกของฉัน