Custom Search

คนเก็บขยะ อาชีพทรงคุณค่าในภาวะโลกร้อน

ขยะมูลฝอยล้นเมือง เป็นสภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในพื้นที่เมืองทั่วโลก ประเทศไทยเองต้องแบกรับภาระการจัดการ

ขยะ มูลฝอยเป็นภารกิจสำคัญในการจัดการด้านสุขาภิบาลของชุมชนและตามเมืองใหญ่ ต่างๆ การกำจัดขยะมูลฝอยไม่ว่ารูปแบบใดต่างบริโภคพลังงานซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการ เพิ่มปัญหาโลกร้อนแทบทั้งสิ้น

ขยะมูลฝอยจัดเป็นประเภทได้ดังนี้ 
1.เศษอาหารและพืชผักที่เหลือจากการรับประทานและการประกอบอาหาร 
2.เศษแก้วแตก กระเบื้องแตก เศษวัสดุก่อสร้าง เช่น ไม้ อิฐ หิน และอื่นๆ 
3.วัสดุชิ้นใหญ่ เช่น รถจักรยานพัง หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้การไม่ได้ ฯลฯ 
4.วัสดุที่มีสารพิษ เช่น หลอดไฟ หลอดนีออน แบตเตอรี่ที่ใช้การไม่ได้ 
5.วัสดุติดเชื้อต่างๆ เช่น ขยะมูลฝอยที่เก็บได้จากโรงพยาบาล และวัสดุสารเคมีจากโรงงาน เป็นต้น
6.วัสดุที่ยังมีสภาพดี เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ กล่องกระดาษ ขวดที่ไม่แตก ขยะมูลฝอยประเภทนี้อาจนำไปขายต่อได้

อาชีพคนเก็บขยะ (Waste Pickers) เป็นอาชีพของแรงงานนอกระบบที่ยืนหยัดควบคู่กับการจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ ต่างๆ ทั่วโลกมาโดยตลอด ธนาคารโลกประมาณการไว้ว่า ประชากรโลกจำนวน 1% ในประเทศกำลังพัฒนามีรายได้เพื่อการยังชีพจากอาชีพเก็บขยะ ในประเทศไทยอาชีพเก็บขยะหล่อเลี้ยงชีวิตคนยากจนจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้หญิงและเด็ก (มีรายได้ต่ำสุดวันละ 51 บาท สูงสุด 200 บาท โดยเฉลี่ยแล้วมีรายได้ระหว่าง 51-100 บาทต่อวัน)

คนเก็บขยะสะท้อนว่า งานเก็บขยะเป็นงานที่ไม่ต้องลงทุน เป็นงานที่ไม่เสี่ยงอันตราย และไม่มีใครมากำหนดปริมาณงานให้รำคาญใจ คน เก็บขยะที่ทำอาชีพนี้มานานกว่า 5 ปี จำนวน 4 ใน 5 คน บอกว่า พวกเขามีความสุขกับอาชีพเก็บขยะ บางครอบครัวอาชีพนี้ถือเป็นมรดกตกทอดจากรุ่นสู่รุ่นทีเดียว ด้วยความที่เป็นแรงงานนอกระบบ คนเก็บขยะจึงไม่ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการทางสังคมเมื่อเทียบกับอาชีพ งานวิจัยของ ศิริศักดิ์ สุนทรไชย และคณะ (2546) พบว่าก่อนจะมาประกอบอาชีพเก็บขยะ พวกเขาเคยเป็นชาวนา คนสวน คนงานก่อสร้าง พนักงานขับรถ คนงานโรงงาน และลูกจ้างทั่วไปมาก่อน แต่เพราะความยากจน ไม่มีงานทำ และระดับการศึกษาไม่สูง พวกเขาจึงผันตัวเองมาเก็บขยะจากการชักชวนของเพื่อนหรือญาติพี่น้อง

บาง คนมาเก็บขยะชั่วคราว และประกอบอาชีพอื่นควบคู่ด้วย ขณะที่บางส่วนหันมาประกอบอาชีพเก็บขยะเพียงอย่างเดียว คนเก็บขยะมีอายุระหว่าง 10-66 ปี ส่วนใหญ่อายุระหว่าง 31-40 ปี ชั่วโมงการทำงานโดยเฉลี่ยคือวันละ 6-10 ชั่วโมง ส่วนขยะมูลฝอยที่พวกเขาเก็บครอบคลุมเกือบทุกประเภท ไม่เว้นแม้แต่วัสดุอันตราย เช่น อุปกรณ์หรือเครื่องมือแพทย์จากโรงพยาบาล ภาชนะบรรจุยาฆ่าแมลง ถุงยางอนามัย ผ้าอนามัย โลหะ เศษอาหาร ซากสัตว์ เศษไม้ แก้ว หรือลูกกระสุนปืน เป็นต้น หลังจากคัดแยกหมวดหมู่ขยะมูลฝอยแล้ว คนเก็บขยะก็จะนำไปขายที่ร้านรับซื้อของเก่าหรือโรงงานขยะ

ขยะมูลฝอยที่ขายแบ่งออกเป็น 6 ประเภท (มูลนิธิเพื่อแรงงานหญิง, 2552) ได้แก่
1.วัสดุ ประเภทกระดาษทุกชนิด 
2.โลหะจากงานก่อสร้าง 
3.วัสดุที่ทำจากพลาสติก 
4.ขวดแก้ว 
5.วัสดุที่ทำด้วยอะลูมิเนียม
6.วัสดุที่ทำจากทองแดง

จาก ที่กล่าวไปข้างต้นผู้อ่านคงเห็นแล้วว่า คนเก็บขยะประกอบอาชีพที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่ง แลกกับมูลค่าการยังชีพเพียงเล็กน้อย หากไม่มีคนกลุ่มนี้สังคมเมืองคงประสบความยากลำบากในการจัดการขยะมูลฝอยยิ่ง ขึ้น เพราะลำพังเจ้าหน้าที่จากทางราชการที่ทำหน้าที่ขนส่งขยะมูลฝอยไปกำจัดนั้น ไม่เพียงพอในการคัดแยกและนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่

ฉะนั้น คน เก็บขยะจึงเป็นฟันเฟืองเสริม หรือผู้ย่อยสลายเมื่อเปรียบเทียบกับระบบห่วงโซ่อาหาร ที่เข้ามาทำหน้าที่จัดการคัดแยกขยะมูลฝอยปริมาณมหาศาล ให้เหลือส่วนที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้จริงๆ เพื่อเข้าสู่กระบวนการกำจัดขยะมูลฝอยของทางราชการต่อไป เมื่อ เราตระหนักซึ่งคุณค่าในการทำงานของคนเก็บขยะ ความจำเป็นที่ต้องกล่าวถึงเป็นลำดับต่อไปเพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพนี้ คือ การคุ้มครองสิทธิของคนเก็บขยะเพื่อให้พวกเขาได้รับสิทธิประโยชน์ทางสังคมจาก การทำงานเลี้ยงชีพ

ขณะเดียวกันพวกเขาก็กำลังรับใช้สังคมโดยการเป็น กลไกสำคัญในการจัดการสิ่งแวดล้อมและลดปริมาณขยะเป็นศูนย์ (Zero Waste) เมื่อเราทราบข้อเท็จจริงดังนี้แล้ว ผู้ที่เคยคิดดูถูกหรือเดินหนีห่างคนเก็บขยะด้วยกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ของพวก เขา อาจจะมีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจและส่งยิ้มให้กับผู้ประกอบอาชีพนี้มากขึ้น เป็นการตอบแทนในฐานะที่ต้องเข้ามาแบกรับภาระการจัดการสิ่งหลงเหลือจากการ บริโภคอย่างสะดวกสบายอย่างปราศจากการยั้งคิดของคนส่วนใหญ่ในสังคม

ที่มา http://www.posttoday.com/

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

รายการบล็อกของฉัน