Custom Search

มาตรการการจัดการปัญหาคนขอทานไทยในทศวรรษหน้า

มาตรการการจัดการปัญหาคนขอทานไทยในทศวรรษหน้า
โดย วรรณา อรัญกุล
บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง “มาตรการการจัดการปัญหาคนขอทานไทยในทศวรรษหน้า” มีวัตถุ ประสงค์เพื่อศึกษาถึงสถานการณ์และสาเหตุของปัญหาคนขอทานไทยในสังคมไทย ปัจจุบัน ตลอดจนแสวงหามาตรการการจัดการปัญหาคนขอทานไทยที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมสอด คล้องกับสภาพสงคมไทยในทศวรรษหน้าด้วยเทคนิคเดลฟาย (Delpfi Technique) โดยการใช้แบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้างเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายคนขอ ทานที่อยู่รับการสงเคราะห์ ในสถานสงเคราะห์ชายธัญญบุรี และสถานสงเคราะห์หญิงธัญญบุรี รวมทั้งคนขอทานที่กำลังขอทานตามที่สาธารณะต่างๆ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 30 คน เพื่อรวบรวมข้อมูลปรากฏการณ์ปัญหาคนขอทานไทยในปัจจุบัน จัดทำเป็นแบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลแนวทางการจัดการปัญหาดังกล่าวจากผู้ เชี่ยวชาญ จำนวน 21 คน ต่อไป

ผล การเก็บรวบรวมข้อมูลคนขอทาน ปรากฏว่า สาเหตุหลักที่ผลักดันให้กระทำการขอทานเกิดจากความยากจน และระดับการศึกษาต่ำมากที่สุด รองลงมาคือ สุขภาพไม่ดี ปัญหาครอบครัว และติดสารเสติด เป็นต้น เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ทั้งนี้ คนขอทานได้กระทำการขอทานมาเป็นระยะเวลายาวนานมากกว่า 1 ปีขึ้นไป และมักจะขอโดยลำพังอิสระมากกว่าขอภายใต้ผู้อยู่เบื้องหลัง ในระหว่างการขอทาน คนขอทานได้ประสบปัญหาต่างๆ เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ ถูกไล่ที่ ถูกขโมยเงินจากอันธพาล ถูก ขบวนการขอทานโกงเงิน ถูกคนตำหนิ ก่อกวน ถูกคนเดินชน และใช้เสียงดัง เป็นต้น ซึ่งคนขอทานจะใช้รูปแบบการแก้ไขปัญหาแบบประนีประนอม หลีกเลี่ยงจากปัญหา อาทิเช่น ย้ายสถานที่ขอทานใหม่ ลาออกจากขบวนการขอทาน หรือซุกซ่อนเงินไว้ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เป็นต้น ส่วนใหญ่ คนขอทานเคยถูกควบคุมตัวเข้ารับการสงเคราะห์มากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป และในระหว่างอยู่รับการสงเคราะห์ คนขอทานส่วนมากไม่เคยได้รับการฝึกอาชีพใด ๆ สำหรับคนขอทานที่รับการฝึกอาชีพ ส่วนใหญ่จะเป็นอาชีพหัตถกรรมสูงสุด ทั้งนี้ ในอนาคต คนขอทานมีความคาดหวังจะประกอบอาชีพค้าขายมากที่สุด รองลงมาคือ ขอทาน ลูกจ้างประมง ปลูกห้องให้เช่า นวดแผนโบราณ เป็นต้น เรียงตามลำดับ และมีคนขอทานหลายรายยังไม่รู้ว่าจะประกอบอาชีพใด ทั้งนี้ คนขอทานจึงมีความประสงค์ให้ช่วเหลือด้านทุนประกอบอาชีพ ค่าครองชีพ และฝึกอาชีพ เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย

ผลการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มาตรการการจัดการปัญหาคนขอทานไทย ประกอบด้วย มาตรการทั้ง 4 ด้านควบคู่กันไป ดังนี้

ด้าน การแก้ไขปัญหา ได้แก่ ควรบัญญัติกฎหมายให้การสงเคราะห์แก่คนขอทาน ที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนอย่างแท้จริง และคนขอทานอาชีพในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เขาสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในสังคม ควรบัญญัติโทษทางอาญาแก่ผู้อยู่เบื้องหลังการขอทาน ควรปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดบริการฟื้นฟูสมรรถภาพในสถานสงเคราะห์คนขอทาน ควรประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมวางแผนแก้ไขปัญหาคนขอทาน ตลอดจน ควรมอบหมายให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมปราบปรามคนขอทาน

ด้า การป้องกันปัญหา ได้แก่ ควรกำหนดนโยบายและจัดสวัสดิการสังคมในรูปแบบต่างๆ แก่ผู้ด้อยโอกาสอย่างเพียงพอและทั่วถึง ควรให้สถาบันโรงเรียน ศาสนามีบทบาทขัดเกลาทางสังคมแก่ประชาชนให้ประพฤติตนเป็นพลเมืองดี ควรประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตระหนักถึงภัยอันตรายของปัญหาคนขอทาน ควรติดต่อองค์กรที่เกี่ยวข้องต่างๆ เพื่อร่วมกันช่วยเหลือคนขอทาน และควรศึกษาวิจัยหมู่บ้านที่มีคนอพยพเดินทางไปขอทานเป็นจำนวนมาก

ด้าน การดำรงชีวิตในสภาพปกติ ได้แก่ ควรปรับเปลี่ยนทัศนคติของประชาชนที่มีต่อคนพิการ และผู้ถือประโยชน์จากคนขอทาน ให้ยอมรับแป็นสมาชิกหนึ่งของสังคม

ด้าน การพัฒนาสังคม ได้แก่ ควรเสริมสร้างแนวคิดประชาสังคม ควรกระจายอำนาจการตัดสินใจให้แก่ชุมชนสามารถปกครองตนเองได้โดยอิสระ ควรมุ่งเน้นนโยบายเศรษฐกิจแบบพอเพียง และควรขยายโอกาสทางการศึกษาภาคบังคับออกไป

สำหรับ ข้อเสนอแนะของผู้ศึกษาต่อมาตรการการจัดการปัญหาคนขอทานเพิ่มเติม ดังนี้ด้านการแก้ไขปัญหา ได้แก่ ควรบัญญัติกฎหมายลงโทษปรับเงินควบคู่ไปกับการสงเคราะห์แก่คนขอทานอาชีพ ควรประสานนโยบาย แผนงานระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง

เพื่อ แก้ไขปัญหาคนขอทานอย่างจริงจังและกำกับดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ปราบ ปรามคนขอทานอย่างเคร่งครัด ควรเปิดโอกาสให้วณิพกสามารถกระทำการขอทานได้อย่างเสรี ด้าน การป้องกันปัญหา ได้แก่ ควรประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงบริการสวัสดิการสังคมต่างๆ ควรกระจายบริการประกันสังคม ไปสู่ประชาชนที่ประกอบอาชีพอิสระต่างๆ ควรปรับปรุงพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534 โดย เพิ่มบทลงโทษแก่สถานประกอบการต่างๆ ในกรณีไม่รับคนพิการเข้าทำงานและไม่จ่ายเงินเข้ากองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพพิการ แทน และควรให้ความช่วยเหลือคนเร่ร่อน อาทิเช่น ที่พัก การให้ความรู้เกี่ยวกับการดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพ เป็นต้น ด้านการพัฒนาสังคม ได้แก่ ควรจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนกระจายทั่วประเทศ ควรส่งเสริมกาจัดตั้งกลุ่มหรือองค์กรประชาชนขึ้นในชุมชน และควรกำหนดนโยบายการพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

รายการบล็อกของฉัน