Custom Search

พบกับชาวบาเจาชนเผ่าที่ใช้ชีวิตในทะเลร่วมพันปี จนร่างกายวิวัฒนาการเหนือมนุษย์

พบกับ “ชาวบาเจา” ชนเผ่าที่ใช้ชีวิตในทะเลร่วมพันปี จนร่างกายวิวัฒนาการเหนือมนุษย์
ค้นหา
Custom Search
นี่คือชนเผ่า “บาเจา” (Bajau) ที่มีฉายา “ผู้เร่ร่อนแห่งท้องทะเล” (Sea Nomads) โดยพวกเขาอาศัยอยู่กลางทะเลมานานนับ 1,000 ปี จนร่างกายเกิดวิวัฒนาการทำให้สามารถดำน้ำได้นานกว่ามนุษย์ทั่วไปถึง 3 เท่า ซึ่งนี่เป็นความสามารถพิเศษที่ถูกจำกัดและเกิดขึ้นเฉพาะกับคนในชนเผ่านี้เท่านั้น

จากสารคดี Human Planet ของ BBC ได้ถ่ายทอดชีวิตของชาวบาเจาคนหนึ่งชื่อว่า เซาบิน (Sulbin) เขาสามารถดำน้ำได้นาน 3 นาที ต่อหนึ่งลมหายใจขณะเคลื่อนไหว แต่คนที่อึดที่สุดสามารถกลั้นหายใจได้นานถึง 5 นาที (ปกติมนุษย์ทั่วไปสามารถดำน้ำได้นานเฉลี่ยเพียง 30-40 วินาทีเท่านั้น) 

พวกเขาอาศัยอยู่บนบ้านกลางทะเลในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเดินทางย้ายที่อยู่ไปเรื่อย ๆ จะขึ้นฝั่งก็ต่อเมื่อต้องขายปลา , ซื้อของใช้จำเป็น , หลบภัยจากพายุกลางทะเล หรือเมื่อต้องทำพิธีฝังศพเท่านั้น

ปกติแล้วชาวบาเจาจะใช้เวลากว่า 5 ชั่วโมงในการดำน้ำเพื่อหาอาหารในแต่ละวัน ซึ่งแต่ละครั้ง พวกเขาจะดำลึกลงไปกว่า 70 เมตร ด้วยวิธีการดำน้ำแบบตัวเปล่า (Free-Driving) ไม่มีอุปกรณ์ใด ๆ ช่วยทั้งสิ้นจะมีแต่เพียงแว่นตาดำน้ำพร้อมฉมวกแทงปลาที่ทำจากไม้เท่านั้นและสกิลที่สะสมมาตั้งแต่เกิดเท่านั้น

ดร.เมลิสซา อิลาร์โด (Melissa Ilado) นักวิจัยพันธุศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน ได้ทำการสแกนร่างกายของชาวบาเจา 59 คน ด้วยเครื่องอัลตราซาวด์แบบพกพา ซึ่งพบว่าพวกเขามีอวัยวะม้ามใหญ่กว่าคนทั่วไปถึง 50% รวมถึงยังใหญ่กว่าชาวซาลวน (Saluan) ชนเผ่าที่อยู่ใกล้ชิดกับทะเลด้วยตัวเลขเดียวกัน

ซึ่งงานวิจัยยังบอกอีกว่า แม้กระทั่งร่างกายของเด็กในชนเผ่าที่ไม่ค่อยได้ดำน้ำเลย ยังพบว่าเด็กเหล่านี้มีขนาดม้ามที่ใกล้เคียงกันกับผู้ใหญ่ทั่วไปที่ดำน้ำเป็นประจำ ทำให้ทีมวิจัยสามารถสรุปว่า ขนาดของม้ามที่ใหญ่กว่าคนธรรมดาไม่ได้เกิดจากการฝึกฝน แต่เกิดจาก “การวิวัฒนาการของร่างกาย” ซึ่งจากบันทึกการมีอยู่ของชาวบาเจาที่เริ่มขึ้นเมื่อ 1,000 ปี ระยะเวลานี้เพียงพอที่จะทำให้การวิวัฒนาการเกิดขึ้นได้

ม้ามเกี่ยวอะไรกับการดำน้ำ ? ตอบ :  ม้ามเปรียบเสมือนถังเก็บออกซิเจนสำรอง เพราะเมื่อเราหยุดหายใจ-ปอดจะหยุดการทำงาน-ม้ามจะทำการบีบตัวและส่งเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีออกซิเจนอยู่มากออกไปเพื่อเพิ่มออกซิเจนในร่างกายขณะที่ปอดหยุดทำงาน-ซึ่งการที่มีม้ามใหญ่ก็จะช่วยให้กลั้นหายใจได้นานขึ้นนั่นเอง (คอมโบปอดและม้าม)

จากการเช็คข้อมูลล่าสุด ปัจจุบันพวกเขาเลือกได้เลือกตั้งถิ่นฐานถาวรอยู่ตามชายฝั่งประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย รวมทั้งทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์ ซึ่งตอนนี้มีประชากรอยู่ในชนเผ่ารวมแล้วกว่า 1 ล้านคน (แต่ส่วนมากอยู่ตามชายนะจ๊ะ)

Fact – สติก เซเวรินเซน (Stig Severinsen) นักดำน้ำชาวเดนมาร์ก สามารถกลั้นหายใจทำสถิติโลกได้นานถึง 22 นาที (ไม่เคลื่อนไหว) โดยก่อนจะเริ่มทำสถิติโลก เขาใช้วิธีหายใจเอาออกซิเจนบริสุทธิ์เข้าไปในร่างกายให้มากที่สุดด้วยการหายใจเป็นจังหวะเร็วและลึกนานเกือบ 20 นาที 
ซึ่งจะทำให้ร่างกายอิ่มตัวด้วยออกซิเจน และช่วยขจัดคาร์บอนไดออกไซด์ที่ตกค้างออกจากปอดได้มากที่สุด (เทคนิคนี้ปรากฏอยู่ในหนังสือ Breatheology – วิชาการหายใจซึ่งสติกเจ้าของสถิติโลกเป็นคนเขียนเองครับ)

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

รายการบล็อกของฉัน