ทีมวิจัยของสถาบันความยั่งยืนโลก พัฒนาโมเดลจำลองทางวิทยาศาสตร์ โดยโมเดลนี้ชี้ให้เห็นว่า โลกอาจล่มสลายภายในปี 2040 จากภาวะขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรง
ทีมวิจัยของสถาบันความยั่งยืนโลก จากสถาบันแองเกลีย รัสคิน พัฒนาโมเดลจำลองทางวิทยาศาสตร์ โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงต่างประเทศของอังกฤษ โดยโมเดลนี้ชี้ให้เห็นว่า โลกอาจล่มสลายภายในปี 2040 จากภาวะขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรง หากรัฐบาลต่างๆยังไม่ปรับเปลี่ยนนโยบายและพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน
ทั้งนี้ โมเดลนี้ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงปฏิกิริยาของสังคมที่จะเรียกร้องให้รัฐบาลเปลี่ยนนโยบาย มีเพียงการจำลองให้เห็นถึงผลร้ายแรงที่จะเกิดขึ้น ว่าหากเรายังคงใช้ชีวิตของเราในปัจจุบัน ดำเนินธุรกิจไปอย่างปกติ จะทำให้กระบวนการผลิตอาหารล้มเหลวทั้งหมด และจะทำให้ไม่สามารถปลูกพืชได้อย่างถาวร
ซึ่งเป็นผลมาจากปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง น้ำ การโลกาภิวัฒน์ และความไม่มั่นคงทางการเมืองและเศรษฐกิจ
องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือเอฟเอโอกล่าวว่า ปีนี้ มีประชากรโลกมากกว่าร้อยละ 5 ใน 79 ประเทศที่ขาดแคลนอาหาร
โดยไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ยังมีคนขาดแคลนอาหาร แต่ยังอยู่ระดับต่ำ เอฟเอโอกล่าวว่า ในปี 2050 ต้องมีผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าของปริมาณปัจจุบัน จึงจะสามารถตอบสนองความต้องการของทั้งโลกได้
ค้นหา