รายงาน Global Climate Risk Index 2019 ที่นำเสนอในช่วงการประชุม COP 24 หรือการประชุมภาคีแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 24 ในเดือนธันวาคม 2018 ที่คาโตวีตเซ ประเทศโปแลนด์ เปิดเผยว่า ประเทศในเอเชียได้รับกระทบและความเสียหายมากที่สุดจากอุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้น โดยใน 10 อันดับของประเทศที่ได้รับผลกระทบมากสุด ซึ่งนำโดยเปอรโตริโกนั้น มีเอเชียรวมอยู่ถึง 5 ประเทศ
รายงาน Global Climate Risk Index 2019 ได้รวบรวมผลกระทบของแต่ละประเทศและภูมิภาคที่ได้รับความเสียหายจากผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปี 2017 เช่น น้ำท่วม พายุ คลื่นความร้อนและช่วงปี 1998-2017 และนำผลมาจัดอันดับโดยใช้จำนวนผู้เสียชีวิตและความสูญเสียที่เป็นตัวเงิน
🌍ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากภัยพิบัติมากกว่า 526,000 คน จากผลของการเปลี่ยนแปลงอากาศแบบสุดขั้วถึงมากกว่า 11,500 เหตุการณ์ สร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจช่วงปี 1998-2017 มูลค่าราว 3.47 ล้านล้านดอลลาร์
ในปี 2017 เปอโตริโกได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด รองลงมาคือ ศรีลังกา ส่วนอันดับ 3 คือ โดมินิกัน ขณะที่อันดับ 4 คือ เนปาล อันดับ 5 เปรู อันดับ 6 เวียดนาม อันดับ 7 มาดาร์กัสกา อันดับ 8 เซียร์ราลีโอน อันดับ 9 บังกลาเทศ และอันดับ 10 ประเทศไทย
เดือนพฤษภาคม 2017 ดินถล่มและน้ำท่วมในศรีลังกาหลังจากฝนฤดูมรสุมตกหนักในทางตะวันตกเฉียงใต้ และฝนที่ตกหนักในมหาสมุทรอินเดียทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 200 คนนับตั้งแต่ปี 2003 ผู้คนไร้ที่อยู่อาศัยกว่า 600,000 คนและมีพื้นที่ได้รับผลกระทบถึง 12 เขต โดยที่เมืองรัตนปุระได้รับผลกระทบมากสุดมีประชาชนได้รับผลจากน้ำท่วมกระทันกันถึงมากกว่า 20,000 คน มีความเสียหายทางเศรษฐกิจ 3 พันล้านดอลลาร์
ฝนที่ตกหนักในเนปาล บังคลาเทศ และอินเดียซึ่งติดอันดับที่ 14 ส่งผลกระทบกับประชาชนกว่า 40 ล้านคน เสียชีวิต 1,200 คนและสูญหายอีกกว่า 1 ล้านคนในทั้งสามประเทศ น้ำท่วมกินพื้นที่ไปถึงตีนเขาหิมาลัย ทำให้เกิดดินถล่มสร้างความเสียหายแก่บ้านเรือน ไร่นาและเส้นทางคมนาคม
เนปาลซึ่งประสบกับน้ำท่วมกระทันหันและดินถล่มในเดือนสิงหาคมในพื้นที่ชายแดนทางใต้มีความเสียหายทางเศรษฐกิจราว 600 ล้านดอลลาร์ มีผู้เสียชีวิตราว 250 คนจากบ้านเรือนถล่มและจมไปกับสายน้ำ บ้านเรือนพัง 950,000 หลัง ขณะที่บังคลาเทศเสียหายทางเศรษฐกิจราว 2.8 พันล้านดอลลาร์ อินเดียเสียหาย 13.7 พันล้านดอลลาร์
🌋ในประเทศไทยฝนเริ่มตกหนักตั้งแต่ต้นปี 2017 ต่อเนื่องไปจนถึงฤดูร้อนทำให้ประชาชนในภาคใต้ได้รับผลกระทบกว่า 1.6 ล้านคน จากเส้นทางรถยนต์และรถไฟถูกตัดขาด มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 40 คน ในเดือนมกราคมเพียงเดือนเดียว นอกจากนี้ยังน้ำท่วมส่งผลให้เกิดคลื่นแรงกวาดชีวิตคนไป 18 คนและยังเอ่อล้นท่วมหลายหมู่บ้าน โรงเรียนกว่า 1,500 แห่งต้องปิดการเรียนการสอน ความเสียหายทางเศรษฐกิจของไทยรวมมากกว่า 700 ล้านดอลลาร์
ส่วนประเทศที่ได้รับผลกระทบมาเป็นระยะยาวตั้งแต่ปี 1998-2017 เปอโตริโกยังเป็นประเทศที่ได้รับผลรุนแรงที่สุด รองลงมาคือ ฮอนดูรัส อันดับสามคือ เมียนมา อันดับสี่ เฮติ อันดับห้า ฟิลิปปินส์ อันดับหก นิการากัว อันดับเจ็ดบังกลาเทศ อันดับแปด ปากีสถาน อันดับเก้าเวียดนาม และอันดับสิบ โดมินิกัน
ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมาจากการเกิดคลื่นความร้อน ฝนตกหนัก และน้ำท่วมชายฝั่ง ได้มีการบันทึกไว้ไในรายงาน Fifth Assessment Report ของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ปี 2014 และยังคาดการณ์ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับเหตุภัยพิบัติต่างๆ ว่าจะเพิ่มขึ้นจากอุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
นักวิจัยยังพบข้อมูลอีกว่า อุณหภูมิผิวน้ำคือปัจจัยหลักในการทำให้ความเร็วของลมพายุเพิ่มขึ้นและฝนตกหนักมากขึ้น ขณะที่รายงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งพบว่า ปริมาณฝนที่ตกหนักในช่วงเกิดพายุเฮอริเคนฮาร์วีย์ปี 2017 เท่ากับฝนที่ตกในมหาสมุทร ดังนั้นจึงส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำทะเล
😥นอกจากนี้ยังพบความสัมพันธ์ของเอลนีโญและภาวะโลกร้อนจากการทำวิจัยในปี 2014 ซึ่งบ่งชี้ว่าเหตุภัยพิบัติจะเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่าในอนาคตจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
เรียบเรียงจาก : Global Climate Risk Index2019,nationalgeographic,theguardian,accuweatherkfm,tass,thaipublica.org