Custom Search

ประวัติศาสตร์กำแพงเมืองจีนและความลึกลับในกำแพง


กำแพงหนา 7 เมตรแห่งนี้ชั้นนอกก่อด้วยอิฐและหินแต่ส่วนชั้นในนั้นอัดแน่นไปด้วยดินเศษอิฐและหินรวมถึงโครงกระดูกของบรรดาแรงงานนักโทษสงครามชายฉกรรจ์ที่บาดเจ็บล้มตายลงไปในช่วงการก่อสร้างกระดูกผู้เสียชีวิตถูกฝังอยู่ใต้กำแพงเหล่านี้นั่นเอง

งานก่อสร้างกำแพงหมื่นลี้อันยาวนานสิ้นสุดลงเมื่อ 1644 ในช่วงการปกครองจักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์หมิง

หลังจากนั้นก็ไม่มีการก่อสร้างเพิ่มเติมอีกเลยมีเพียงแต่การทำนุบำรุงซ่อมแซมเท่านั้นใหญ่เท่านั้นที่ มีนักท่องเที่ยวมาเยือนที่นี่ปีละกว่า 5 ล้านคน

ในช่วงต่างๆของกำแพงที่ทอดยาวบนแผ่นดินจีนราวกับว่าเป็นมังกรยักษ์ เลื้อยไปตามหุบเขาน้อยใหญ่สุดลูกหูลูกตา

กำแพงเมืองจีนยังคงเรียกว่า "กำแพงหมื่นลี้" (จีนตัวย่อ: 万里长城; จีนตัวเต็ม: 萬里長城; พินอิน: Wànlĭ Chángchéng "ว่านหลี่ฉางเฉิง") สำนักงานมรดกวัฒนธรรมแห่งชาติจีน ประกาศเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ว่านักโบราณคดีได้ตรวจวัดความยาวของสิ่งก่อสร้างจากน้ำมือมนุษย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกหรือ "กำแพงเมืองจีน" อย่างเป็นทางการนานร่วม 5 ปี

ตั้งแต่ 2008-2012 และพบว่ายาวกว่าที่บันทึกไว้เดิมกว่า 2 เท่า หรือ 21,196.18 กิโลเมตร จากเดิม 8,850 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 15 มณฑลทั่วประเทศ[4] และนับเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก ยุคกลาง ด้วย

มีความเชื่อกันว่า หากมองเมืองจีนจากอวกาศจะสามารถเห็นกำแพงเมืองจีนได้ ซึ่งในความเป็นจริงไม่สามารถมองเห็นจากอวกาศได้

กำแพงเมืองจีนสร้างเมื่อกว่า 2,500 ปีมาแล้ว ตั้งแต่ก่อนรัชสมัยของจิ๋นซีฮ่องเต้ ปฐมจักรพรรดิพระองค์แรกในประวัติศาสตร์จีน จุดประสงค์ก็เพื่อป้องกันการรุกรานจากชนเผ่าเร่ร่อนทางตอนเหนือ

โดยมีการก่อสร้างเพิ่มเติมโดยฮ่องเต้องค์ต่อมาอีกหลายพระองค์ จนสำเร็จในที่สุด กำแพงเมืองจีนถือเป็นงานก่อสร้างที่มหัศจรรย์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกเท่าที่เคยมีมาเลย

โศกนาฏกรรม การตาย สุดเพี้ยน ของเหล่ากษัตริย์ ในสมัยโบราณ

โศกนาฏกรรม การตาย สุดเพี้ยน ของเหล่ากษัตริย์ ในสมัยโบราณ

มีกษัตริย์หลายพระองค์ที่ปกครองประเทศด้วยความเข้มแข็งจนเป็นที่เลื่องลือ แต่อำนาจและความแข็งแกร่ง เหล่านั้น กลับไม่ได้ช่วยให้เหล่ากษัตริย์เอาชนะความตายอันแปลกประหลาดได้แต่อย่างใด

1. ซิการ์ด ไอสไตน์สัน แห่งสกอตแลนด์

ซิการ์ดเคยเป็นผู้นำที่มีชื่อเสียงของชาวไวกิ้ง ซึ่งปกครองเกาะออร์กนีย์ในสกอตแลนด์ช่วงปลายยุค 800 ซิการ์ดเป็นนักรบหัวรุนแรงและทำการต่อสู้จนไปถึงสกอตแลนด์แผ่นดินใหญ่ได้ในที่สุด เมื่อบุกเข้าไปถึง เขาจึงตกลงใจที่จะพบปะอย่างสันติกับเมลบริท ท่านเอิร์ลแห่งสกอต เพื่อทำการเจรจา 

ไม่นานหลังจากนั้น การพูดคุยก็กลายเป็นการต่อสู้ ซิการ์ดเป็นฝ่ายชนะและตัดหัวของเมลบริทออกมา การตายสุดเพี้ยนเกิดขึ้นเมื่อซิการ์ดผูกหัวของเมลบริทติดไว้กับอานม้า และในจังหวะที่เขาควบม้า ออกจากสนามรบ ฟันอันยืดยาวของเมลบริทก็ขูดไปที่ขาของซิการ์ดจนเป็นแผล ไม่นานหลังจากนั้น แผลก็เริ่มติดเชื้อและทำให้ซิการ์ดเสียชีวิตไปในที่สุด

2. พระเจ้าอดอล์ฟ เฟรเดอริก แห่งสวีเดน 

พระเจ้าอดอล์ฟ เฟรเดอริกแห่งสวีเดน ครองราชย์ในระหว่างปี 1751 - 1771 และจำเป็นต้องแบ่งอำนาจ ส่วนใหญ่ให้รัฐสภาสวีเดน ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 1771 พระเจ้าอดอล์ฟ เสวยอาหารที่ประกอบไปด้วย คาเวียร์, ล็อบสเตอร์,แชมเปญ และอื่นๆ อีกมากมาย ก่อนจะสั่งของหวานจานโปรดนั่นก็คือขนม ของชาวนอร์ดิกที่มีชื่อว่าเซมลา

การตายสุดเพี้ยนของพระองค์เกิดขึ้นเมื่อพระองค์ไม่พอใจกับการเสวยขนมเพียงชิ้นเดียวเท่านั้น พระเจ้าอดอล์ฟจึงสวาปามขนมเข้าไปถึง 14 ชิ้นซึ่งทำให้พระองค์สิ้นพระชนม์ในคืนนั้นหลังจาก โอดครวญเรื่องอาหารไม่ย่อยอย่างรุนแรง

3. พระเจ้าเฮนรีที่1 แห่งอังกฤษ

แม้พระเจ้าเฮนรีที่1 ปกครองอังกฤษด้วยความเข้มแข็งเด็ดขาด แต่พระองค์ก็มีจุดอ่อนอยู่อย่างหนึ่งนั่่นก็คือ 'ปลาแลมป์เพรย์' ซึ่งเป็นตัวดูดเลือดที่มีรูปร่างคล้ายปลาไหล แม้แพทย์ของพระองค์จะห้ามไม่ให้พระองค์ เสวยปลาชนิดนี้ก็ตาม แต่พระองค์ไม่สนใจ เพราะพระองค์ก็หลงใหลในรสชาติของพวกมันมาก การตายสุดเพี้ยนเกิดขึ้น เนื่องจากพระองค์เสวยปลาแลมป์เพรย์มากเกินไปจนอาหารเป็นพิษ และสิ้นพระชนม์ในปี 1135  

4. พระเจ้าชาร์ลที่ 8 แห่งฝรั่งเศส

ในปี 1498 พระเจ้าชาร์ลที่ 8 แห่งฝรั่งเศส พระเศียรกระแทกกับขื่อประตูในขณะเสด็จไปทอดพระเนตร การแข่งขันเทนนิส ด้วยความรุนแรงมาก จนพระองค์สิ้นพระชนม์ในภายหลังจากอุบัติเหตุในครั้งนั้น แพทย์ในปัจจุบันเชื่อกันว่าพระองค์ได้บาดเจ็บที่กะโหลกศีรษะจากการกระแทกจนถึงแก่ชีวิต นอกจากจะเป็นที่จดจำจากเหตุการณ์นี้พระองค์ยังเป็นที่จดจำจากการแพร่กระจายเชื้อซิฟิลิสอีกด้วย

5. พระเจ้าเบลาที่ 1 แห่งฮังการี

พระเจ้าเบลาที่ 1 เป็นกษัตริย์นักรบ ที่ได้รับการยกย่องจากการปกป้องอธิปไตยของฮังการีจากความ ทะเยอทะยานของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ แต่บัลลังก์ของพระองค์ก็ลบล้างอำนาจนั้นเสียจนหมดสิ้น เพราะในเดือนกุมภาพันธ์ ปี1063 การตายสุดเพี้ยนก็เกิดขึ้นเมื่อโครงสร้างไม้ของบัลลังก์ที่พระองค์ประทับ เกิดยุบตัวลงไปข้างใต้พระองค์ ทำให้พระองค์บาดเจ็บสาหัสและสิ้นพระชนม์ไปในที่สุด

6. พระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งบริเตนใหญ่

พระเจ้าจอร์จที่ 2 เป็นกษัตริย์แห่งบริเตนใหญ่ ซึ่งครองราชย์ในระหว่างปีในระหว่างปี 1727 - 1760 นับว่าเป็นช่วงเวลาของการเติบโตและพัฒนาของทั้งประเทศอังกฤษและจักรวรรดิ พระเจ้าจอร์จ เป็นกษัตริย์อังกฤษองค์สุดท้ายที่ไม่ได้เกิดในอังกฤษ และยังเป็นราชวงศ์พระองค์สุดท้าย ที่ลงสู่สนามรบเพื่อสู้รบกับศัตรูด้วยพระองค์เองอีกด้วย

แต่การสิ้นพระชนม์ของพระองค์มีเกียรติน้อยกว่าตำแหน่งกษัตริย์อังกฤษของพระองค์มากนัก การตายสุดเพี้ยนเกิดขึ้น ในวันที่ 25 ตุลาคม 1760 ในวัย 76 ชันษา เมื่อพระองค์เส้นพระโลหิตแตก ในพระสรง และสิ้นพระชนม์อย่างน่าอนาถในนั้น

7. พระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งสกอตแลนด์

พระเจ้าเจมส์ที่ 2 ได้ขึ้นครองราชย์หลังจากพระบิดาถูกสังหาร ทั้งการครองราชย์และสิ้นพระชนม์ ของพระองค์นั้นถือว่าเป็นเรื่องรุนแรงมาก ในปี 1460 พระองค์ได้ล้อมปราสาท Roxburgh ไว้ได้ และเนื่องจากพระองค์หลงใหลในเทคโนโลยีใหม่ของสงครามเป็นอย่างมาก พระองค์จึงฉลองชัยชนะ ด้วยการยิงปืนใหญ่ขนาดยักษ์ และนั้นคือจุดเริ่มต้นของการตายสุดเพี้ยน เพราะเมื่อปืนใหญ่ถูกจุด แทนที่ลูกกระสุนจะยิงไปข้างหน้า มันกลับยิงย้อนหลังกลับมาใส่พระองค์ จนพระองค์สิ้นพระชนม์ไปในที่สุด

8. พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ แห่งกรีซ

ในวันที่ 2 ตุลาคม 1920 ในขณะที่อเล็กซานเดอร์กำลังเสด็จพระราชดำเนินกลับพระราชฐาน สุนัขของพระองค์ก็เริ่มต่อสู้กับลิงของผู้ติดตาม และในขณะที่พระองค์พยายามแยกมันออกจากกัน การตายสุดเพี้ยนก็เกิดขึ้น เมื่อลิงตัวที่ 2 ก็กัดไปที่ขาของพระองค์ ทำให้แผลติดเชื้อและเลือดของพระองค์ เป็นพิษ หลังจากทุกข์ทรมานอยู่หลายสัปดาห์พระองค์ก็สิ้นพระชนม์ไปในที่สุด

9. จักรพรรดิชาร์ลที่ 6 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

พระเจ้าชาร์ลที่ 6 เป็นจักรพรรดิของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และเป็นหนึ่งในบุคคลที่มีอำนาจมากที่สุดในโลก แต่พลังของพระองค์ก็ไม่ได้ทำให้พระองค์เป็นอมตะแต่อย่างใด เพราะในเดือนตุลาคม 1740 พระองค์ก็สิ้นพระชนม์ เนื่องจากเสวยเห็ดพิษเข้าไป และการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ก็ก่อให้เกิดสงครามใหญ่ทั่วยุโรปและอาณานิคม และถือเป็นการตายสุดเพี้ยนที่น่าจดจำไม่น้อย

ประวัติ..เปียโน

เปียโน เป็นเครื่องดนตรีขนาดใหญ่ที่สร้างเสียงเมื่อคีย์ถูกกดและกลไกภายในเครื่องตีสาย คำว่าเปียโนเป็นตัวย่อของคำว่า ปีอาโนฟอเต (pianoforte) - (ออกเสียงว่า ปี-อ๊า-โน่-ฟอ-เต้) ซึ่งเป็นคำภาษาอิตาลีที่แปลว่า "เบาดัง" มาจากความสามารถของเปียโนที่จะปรับความดังเบาตามแรงที่กดคีย์ในฐานะเครื่องสาย เปียโนมีความคล้ายคลึงกับคลาวิคอร์ด (clavichord) และฮาร์ปซิคอร์ด (harpsichord) จะแตกต่างกันเพียงวิธีการสร้างเสียง สายฮาร์พซิคอร์ดจะถูกดีดหรือเกาโดยขนนก ส่วนสายของคลาวิคอร์ดจะถูกเคาะด้วยกลไกที่จะยังคงสัมผัสกับสายอยู่ตลอดเวลาหลังการเคาะ เพื่อบังคับความถี่ของการสั่น ส่วนสายเปียโนถูกเคาะด้วยลิ่มที่สะท้อนกลับในทันที

เพื่อให้เกิดการสั่นของสายอย่างเป็นอิสระ เปียโนเป็นเครื่องดนตรีที่ำสำคัญในดนตรีคลาสสิกตะวันตก ดนตรีแจ๊ซ ภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ และดนตรีอีกหลายรูปแบบ เปียโนยังเป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในหมู่ชนชั้นกลางและชนชั้นสูง.

เปียโนถูกคิดค้นขึ้นที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี โดยบาร์โทโลเมโอ คริสโตโฟรี รายละเอียดเวลาที่คริสโตโฟรีประดิษฐ์เปียโนเครื่องแรกนั้นไม่ชัดเจน

แต่จากบันทึกของครอบครัวเมดิชิ ผู้ที่ว่าจ้างคริสโตโฟรี ปรากฏว่ามีเปียโนตั้งแต่ปี ค.ศ. 1700 คริสโตโฟรีสร้างเปียโนอีก 20 เครื่องก่อนที่เขาจะเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1731 และเปียโน 3 ตัวของเขาที่ยังคงอยู่ในปัจจุบันย้อนมาจากช่วงปี ค.ศ. 1720เปียโน เหมือนการพัฒนาทางเทคโนโลยีอื่นๆ มีรากฐานมาจากพัฒนาการของฮาร์ปซิคอร์ด ตลอดหลายศตวรรษ ซึ่งรวมถึงขั้นตอนการผลิตแผ่นขยายเสียง โครง และ คีย์บอร์ด คริสโตโฟรีเองก็เป็นผู้ผลิตฮาร์พซิคอร์ด

ความสำเร็จใหม่ที่สำคัญของคริสโตโฟรีคือการให้ค้อนตีสายเปียโนโดยไม่ค้างอยู่กับสาย (เพื่อให้เสียงที่ชัด).

นอกจากนั้น ตัวค้อนยังจำเป็นที่จะต้องกลับสู่ตำแหน่งเดิมโดยไม่ดีดหรือเด้งอย่างรุนแรง และที่สำคัญ เปียโนยังจำเป็นที่จะเล่นโนต์ที่รัวได้ เปียโนตัวแรกๆ ของคริสโตโฟรีทำขึ้นมาด้วยสายที่บางกว่าเปียโนปัจจุบัน ทำให้เสียงนั้นเบากว่าเปียโนปัจจุบันมาก. แต่เมื่อเทียบกับคลาวิคอร์ด (เครื่องดนตรีเพียงชนิดเดียวในยุคนั้นที่สามารถควบคุมความเบาหรือดัง) เปียโนมีความดังมากกว่า

เครื่องดนตรีใหม่นี้ไม่ได้รับความสนใจมากนักจนนักเขียนชาวอิตาลีนามว่าสกีปีโอเน มาเฟอี (Scipione Maffei) ได้เขียนและตีพิมพ์บทความ (ค.ศ. 1711) ที่พูดอย่างน่าตื่นตาตื่นใจถึงข้อดีของเปียโน. มาเฟอีได้รวมแบบของเปียโนไว้ในบทความ และกระตุ้นให้ผู้ผลิตอื่นๆ

เริ่มที่จะสร้างเปียโนตามแบบของคริสโตโฟรีหนึ่งในผู้ผลิตนี้คือกอตต์เฟรด ซิลเบอร์แมน (Gottfried Silbermann) ซึ่งมีชื่อเสียงในฐานะผู้ผลิตออร์แกน. เปียโนของซิลเบอร์แมนแทบจะเป็นการเลียนแบบของคริสโตโฟรี ยกเว้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ คือคันเหยียบที่ยกแดมเปอร (์Damper Pedal) ออกจากทุกสายในเวลาเดียวกัน. หลังจากนั้น เปียโนส่วนมากก็นำสิ่งประดิษฐ์ของซิลเบอร์แมนมาใช้.

ซิลเบอร์แมนได้นำเปียโนของเขาไปแสดงให้โยฮัน เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach) ในช่วงปี ค.ศ. 1730 แต่บาคก็แสดงความไม่ชอบใจที่โน้ตสูงของเปียโนยังคงเบาและไม่สามารถให้ความไพเราะอย่างเต็มที่. ซิลเบอร์แมนจึงได้พัฒนาเปียโนเพิ่มขึ้นอีก จนบาคให้ความเห็นด้วยกับเปียโนของซิบเบอร์แมนราวปี ค.ศ. 1747

การผลิตเปียโนเข้าสู่ยุครุ่งเรืองในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยเฉพาะในหมู่ผู้ผลิตเปียโนแห่งกรุงเวียนนา ซึ่งรวมถึงโยฮัน แอนเดรียส สไตน (Johann Andreas Stein) และแนนเนต์ สไตน (Nannette Stein) ลูกสาวของโยฮัน แอนเดรียส. เปียโนเวียนนานั้นมีโครงไม้ สายสองเส้นต่อโน้ต และค้อนหนัง.

นักประพันธ์ชื่อดังอย่างโวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart) เองก็ได้ประพันธ์เพลงเพื่อเล่นบนเปียโนชนิดนี้. เปียโนในยุคของโมซาร์ทนั้นมีเสียงที่ใสกว่าปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้มีพลังเสียงน้อยกว่าเปียโนในปัจจุบันในปัจจุบัน คำว่าฟอร์เตเปียโน (fortepiano) ใช้แยกแยะระหว่างเปียโนยุคคริสต์ศตวรรษที่ 18 และเปียโนในปัจจุบัน

ประเภทเปียโน เปียโนในปัจจุบันมีรูปแบบสองรูปแบบ คือเปียโนตั้งตรงและแกรนด์เปียโน
แกรนด์เปียโน (Grand) เป็นเปียโนที่มีสายและโครงวางในแนวนอน โดยที่สายเสียงนั้นจะถูกขึงออกจากคีย์บอร์ด ซึ่งทำให้มีเสียงและลักษณะที่ต่างออกไปจากเปียโนตั้งตรงแต่จะใช้ที่ทางมาก ทั้งยังจำเป็นต้องหาห้องที่มีการสะท้อนเสียงที่พอเหมาะสำหรับคุณภาพเสียงที่ดีที่สุด

 ในบรรดาแกรนด์เปียโนเองยังมีหลายขนาดและประเภท ซึ่งอาจจะแตกต่างกันตามผู้ผลิตหรือรุ่น แต่ก็ยังสามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ เช่น คอนเสิร์ตแกรนด์ ที่มีขนาดประมาณ 3 เมตร แกรนด์ ที่มีขนาดประมาณ 1.8 เมตร หรือ เบบี้แกรนด์ ที่มักจะสั้นกว่าความกว้าง. เปียโนที่มีความยาวจะสร้างเสียงที่ดีกว่าและเพี้ยนน้อยกว่าเปียโนเครื่องอื่น ๆ แกรนด์เปียโนใหญ่จึงเป็นที่นิยมใช้ในคอนเสิร์ตอัพไรท์เปียโน (Upright) เป็นเปียโนที่มีสายและโครงวางในแนวตั้ง และขึงสายเปียตั้งแต่ด้านล่างจนถึงด้านบนของเปียโน

แต่เปียโนประเภทนี้ไม่สามารถควบคุมการสร้างเสียงได้นุ่มนวลเท่าแกรนด์เปียโน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเทคโนโลยีเปียโนตั้งตรงได้พัฒนาคุณภาพเสียงมากขึ้น โดยการปรับปรุงโครงสร้างภายในให้ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ทำให้ได้คุณภาพเสียงที่ดีขึ้นโดยใช้พื้นที่ในการตั้งวางน้อยกว่าแกรนด์ แต่ให้เสียงที่ใกล้เคียงมากขึ้นในปี ค.ศ. 1863 เฮนรี ฟอร์โนว์ (Henry Fourneaux) ประดิษฐ์เปียโนที่สามารถเล่นตัวเองได้ (player piano) โดยใช้ม้วนเหล็กที่เดินเครื่องกลในตัวเปียโน

ตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เริ่มมีการผลิตเปียโนดิจิตัลขึ้นใช้ โดยเลียนแบบเสียงของเปียโน เปียโนประเภทนี้เริ่มที่จะมีความซับซ้อนและการทำงานที่มากขึ้น โดยสามารถเลียนแบบชิ้นส่วนของเปียโนจริง เช่น น้ำหนักคีย์บอร์ด คันเหยียบ และเสียงเครื่องดนตรีอื่น อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีปัจจุบันยังไม่สามารถที่จะทดแทนเปียโนเครื่องจริง

คีย์บอร์ด เปียโนสมัยใหม่เกือบทุกตัวจะมี 88 คีย์ (มากกว่า 7 Octave เล็กน้อย เรียงลำดับตั้งแต่ A0 ถึง C8) เปียโนรุ่นเก่าหลายตัวมีเพียง 85 คีย์ (ตั้งแต่ A0 ถึง A7) ผู้ผลิตบางรายก็อาจจะเพิ่มปริมาณคีย์ให้มากกว่านั้น โดยบ้างก็เพิ่มเพียงฝั่งเดียวก็เพิ่มทั้งสองฝั่ง ตัวอย่างที่ดีที่สุดก็คือเปียโนBösendorfer ซึ่งบางตัวเพิ่มคีย์เสียงต่ำลงไปกว่าปกติจนถึง F0 บางทีต่ำลงไปจนถึง C0 เลยก็มี ทำให้มีครบ 8 octave บางรุ่นอาจจะซ่อนคีย์พิเศษที่เพิ่มขึ้นมานี้ไว้ใต้ฝาปิดเล็กๆ ซึ่งสามารถปิดคีย์เอาไว้ได้เพื่อป้องกันไม่ให้นักเปียโนที่คุ้นกับเปียโนปกติเห็นแล้วเกิดความสับสนกับคีย์พิเศษที่เพิ่มขึ้นมา บางตัวก็อาจจะสลับสีคีย์พิเศษที่เพิ่มขึ้นมาเหล่านี้ (สลับดำเป็นขาว ขาวเป็นดำ) ด้วยเหตุผลเดียวกันนั่นเอง คีย์ที่เพิ่มขึ้นมานั้นโดยมากแล้วก็มีไว้เพื่อสร้างเสียงสะท้อน (resonance) ได้มากขึ้น

ซึ่งก็คือมันจะสั่นไปพร้อมกับสายเปียโนเส้นอื่นๆ เมื่อใดก็ตามที่เหยียบคันเหยียบ ซึ่งก็จะให้เสียงได้เต็มกว่า มีเพลงที่แต่งขึ้นมาสำหรับเปียโนไม่กี่เพลงนักที่จะใช้คีย์พิเศษเหล่านี้ ไม่นานมานี้ บริษัท Stuart and Sons ได้ผลิตเปียโนที่มีคีย์มากกว่าปกติออกมาเช่นกัน เปียโนของบริษัทนี้จะเพิ่มคีย์เสียงแหลมขึ้นไปจนถึง 8 octave เต็ม ซึ่งคีย์พิเศษที่เพิ่มขึ้นมาก็ดูเหมือนคีย์ปกติทุกประการ

สำหรับการจัดเรียงคีย์บนเปียโน ให้ดูในหมวด Musical keyboard การจัดเรียงเช่นนี้ได้แบบมาจาก harpsichord โดยไม่ผิดเพี้ยน เว้นแต่สีของลิ่มคีย์ (สีขาวสำหรับเสียงปกติ และสีดำสำหรับชาร์ป sharps) ซึ่งกลายมาเป็นมาตรฐานสำหรับเปียโนในตอนปลายศตวรรษที่ 18คันเหยียบ (Pedal) ของ Upright Pianoเปียโนมีการใช้คันเหยียบหรืออุปกรณ์ที่มีลักษณะใกล้มาตั้งแต่ยุคต้นๆ (ในคริสต์ศตวรรษที่ 18เปียโนบางตัวใช้แท่นแทนคันเหยียบ โดยให้ผู้เล่นใช้เข่าดันขึ้น คันเหยียบสามประเภทซึ่งได้กลายมาเป็นมาตรฐานในเปียโนปัจจุบัน ได้แก่...

คันเหยียบ damper pedal (บ้างก็เรียก sustain pedal หรือ loud pedal) มักจะถูกเรียกว่า "the pedal" เฉยๆเพราะว่าเป็นคันเหยียบที่ถูกใช้งานมากที่สุด ซึ่งเป็นคันเหยียบที่อยู่ทางขวาสุด คันเหยียบที่พบเห็นโดยมากที่ติดอยู่กับเปียโนนั้นโดยส่วนมากจะมีอยู่ 3 อัน ในเปียโนบางตัวจะมี 2 อัน โดยจะเทียบได้เท่ากับ อันซ้ายสุดและอันขวาสุดของเปียโนที่มี 3 อัน ซึ่งจะช่วยให้การเล่นเปียโนนั้นมี dynamic ต่าง ๆ กันได้แก่

คันเหยียบอันซ้ายสุด มีไว้เพื่อลดความดังของเปียโน ในแกรนด์เปียโน เมื่อเราเหยียบคันเหยียบอันนี้แล้ว ชุดของคีย์บอร์ดรวมทั้งไม้ฆ้อนจะขยับไปทางซ้ายหรือทางขวาเล็กน้อย เพื่อให้ไม้ฆ้อนตีถูกสายเพียงครึ่งเดียว (ปกติเปียโนจะมีสาย 1 ถึง 3 เส้น ต่อ 1 คีย์) ทำให้เสียงเบาลง ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า (Una Corda แปลว่า สายเส้นเดียว) ส่วนในอัพไรท์เปียโน

เมื่อเราเหยียบคันเหยียบอันนี้แล้ว จะมีคานมาดันชุดไม้ฆ้อนให้ขยับเข้าไปใกล้กับสายมากขึ้น ทำให้เมื่อกดคีย์แล้ว ไม้ฆ้อนจะเหวี่ยงตัวได้น้อยกว่าปกติ แรงที่เคาะสายจึงน้อยลงด้วย ผลที่ตามมาก็คือ เสียงที่ค่อยกว่า และนุ่มนวลกว่า และจะได้เสียงที่นุ่มลงกว่าเดิม แต่เมื่อเรายกเท้าจากคันเหยียบอันนี้เสียงเปียโนก็จะกลับมาเป็นเหมือนเดิม

คันเหยียบอันกลาง ในแกรนด์เปียโนเรียกว่า sostenuto pedal เมื่อเหยียบแล้ว จะดำรงเสียงของตัวโน้ตที่กดไว้ก่อนเหยียบคันเหยียบนี้เท่านั้น โดย damper จะเปิดขึ้น (โน้ตอื่นๆ ที่กดหลังจากเหยียบคันเหยียบ damper จะทำงานปกติ ทำให้เสียงสิ้นสุดเมื่อปล่อยนิ้ว) ส่วนในอัพไรท์เปียโน เรียกว่า soft pedal มีไว้เพื่อลดความดังของเปียโน เมื่อเราเหยียบคันเหยียบอันนี้แล้ว

 จะมีผ้ามากั้นระหว่างฆ้อนกับสาย เพราะฉะนั้นเมื่อเรากดคีย์ เสียงที่ได้จะเบาลง คันเหยีบบอันนี้มีความพิเศษก็คือ มันจะมีช่องสำหรับให้คันเหยียบอันนี้ค้างอยู่ได้ จึงทำให้เราไม่ต้องเมื่อยเมื่อต้องใช้เสียงเบา หรือต้องการใช้ dynamic แบบนี้นาน ๆ ได้ และเรายังสามารถปรับความดัง-เบา นุ่มลึกได้โดยการปรับระดับของแผ่นผ้าที่เคลื่อนลงมากั้นระหว่างฆ้อนเมื่อจะเคาะสายเปียโนได้อีกด้วย (แต่การปรับนั้นต้องเปิดฝาข้างล่างของเปียโนก่อน) ในอัพไรท์เปียโนมักใช้คันเหยียบนี้ในการซ้อมเปียโนเวลาไม่ต้องการให้มีเสียงดังมาก รบกวนคนอื่น

คันเหยียบอันขวาสุด คันเหยียบอันนี้มักจะถูกใช้บ่อย ๆ ซึ่งคำว่า pedal หรือ sustain ที่เราใช้เรียกอุปกรณ์ชิ้นนี้นั้นก็มาจากการทำงานของคันเหยียบตัวนี้ นั่นคือมันมีไว้เพื่อลากเสียงของโน้ตให้ยาวขึ้น คือเมื่อเรากดคีย์เปียโน 1 ครั้งและยกมือออกจากคีย์ เสียงก็จะหยุดทันที แต่คันเหยียบตัวนี้จะทำให้เกิดโน้ตที่มีเสียงยาวขึ้นโดยที่เราไม่ต้องกดมือค้างไว้ เพื่อจะได้เล่นโน้ตตัวอื่นได้อีก ทำให้เกิด hamony ขึ้นในเพลง

เพิ่มความก้องกังวาน และความไพเราะให้กับการบรรเลงเปียโนของเรามากขึ้น (การเหยียบคันเหยียบอันนี้ค้างไว้นาน ๆ นั้นไม่ได้ทำให้การบรรเลงเพลงไพเราะเลยทีเดียวนะครับ เพราะการเหยียบนาน ๆ ค้างไว้จะทำให้เสียงของโน้ตหลาย ๆ เสียงเกิดปนกัน ทำให้เกิดคู่เสียงอันไม่พึงประสงได้ เพราะฉะนั้นหากจะใช้คันเหยียบอันนี้ก็ต้องฝึกฝน ไม่ยากเกินความสามารถแน่นอน)

JENNIE「SOLO」Piano Cover

ตืบใต้น้ำ ‘แม่ช้างแค้น’จระเข้ ไปกัดลูกช้าง แม่ช้างแค้นมาก ลุยเหยียบกระทืบจระเข้ดับถึงถิ่น

ตืบใต้น้ำ ‘แม่ช้างแค้น’จระเข้ ไปกัดลูกช้าง แม่ช้างแค้นมาก ลุยเหยียบกระทืบจระเข้ดับถึงถิ่น

วลีที่ว่า "ยักษ์ที่อ่อนโยน" มักจะถูกพูดบ่อยๆ เมื่อพูดถึงช้าง ความจริงที่มันอาจไม่เป็นภัยและดูเป็นมิตร (เป็นส่วนใหญ่) แต่หากมันอารมณ์ไม่ดี จะไม่มีสัตว์ชนิดไหนรอดจากมันได้ง่ายๆ มนุษย์ก็เช่นกัน ในคลิปนี้เป็นจระเข้โชคร้ายตัวหนึ่งที่อุทยานแห่งชาติครูเกอร์ซึ่งเจอกับช้างผิดตัว.. คลิปท้ายเรื่อง

จากคลิปวิดีโอล่าสุดที่นักท่องเที่ยวถ่ายเอาไว้ มันเป็นเรื่องระหว่างจระเข้กับช้างที่ไม่มีงา แต่มันไม่ใช่การต่อสู้ที่ยุติธรรม เพราะเป็นการโจมตีฝ่ายเดียวของช้าง มันเป็นช้างแอฟริกาที่กระทืบจระเข้ ทั้งๆ ที่จระเข้อยู่ในน้ำ

คลิปวิดีโอนี้ถ่ายโดย Hans Henrik Haahr ซึ่งต้องตกใจเมื่อเห็นภาพดังกล่าว และตัดสินใจถ่ายทำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ค่าย Baines River ในหุบเขา Lower Zambezi

ช้างเป็นสัตว์กินพืช ดังนั้นการฆ่าสัตว์จึงไม่ใช่พฤติกรรมปกติของพวกมัน อย่างไรก็ตาม แม้จะมีขนาดมหึมาแต่ก็ยังเป็นเป้าหมายของนักล่าหลายตัว รวมทั้งจระเข้ด้วย ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่บางครั้งพวกมันต้องทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อเอาชนะภัยคุกคามต่อตัวมันหรือแม้แต่สมาชิกในฝูง

โดยตามคำอธิบายท้ายคลิปได้เล่าเอาไว้ว่า ..จระเข้เป็นนักฉวยโอกาส เป็นที่รู้กันว่าลูกช้างถือเป็นเหยื่อของมัน และดูแม่ช้างจะไม่สบอารมณ์ที่จระเข้มาอยู่ใกล้ลูกของมัน ..แม่ช้างลงไปในน้ำเพื่อกำจัดภัยคุกคาม ซึ่งหมายถึงจระเข้ทั้งหมดในบริเวณนั้น

และดูเหมือนจะมีจระเข้โชคร้ายหนึ่งตัวที่ไม่สามารถหนีแม่ช้างไปได้ มันถูกผลักด้วยหัว ลำตัว รวมงวงอย่างรุนแรง

นอกจากนี้ยังโดนกระทืบ จนในที่สุดโชคร้ายก็ตาย ..คาดว่าช้างในคลิปมีน้ำหนักประมาณ 2,700 – 3,600 กิโลกรัม มันเป็นการโจมตีฝ่ายเดียวอย่างแท้จริง

ลักษณะเฉพาะของจระเข้ในคลิปวิดีโอ นั้นยากที่จะระบุได้ว่าจริงๆ แล้วมันมีขนาดใหญ่แค่ไหน หรือเป็นชนิดไหน? แต่จากสายพันธุ์ทั้งหมดที่รู้จักในประเทศต่างๆ ทั่วแอฟริกา จระเข้ที่ใหญ่ที่สุดคือจระเข้แม่น้ำไนล์ (Crocodylus niloticus )

มันเป็นนักล่าที่น่าสะพรึงกลัว มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก เป็นรองแค่จระเข้น้ำเค็ม ( Crocodylus porosus ) ซึ่งมีความยาวถึง 5 เมตร (15 ฟุต) .. สถิติโลกยาวมากกว่า 6 เมตร

แตกกระจายออกแล้ว! ‘หินสังหาร’ แห่งญีปุ่น ที่เชื่อว่าเป็นที่กักขังอสูรไว้ 1 พันปี

Killing Stone Sessho-seki

แตกกระจายออกแล้ว! ‘หินสังหาร’ แห่งญีปุ่น ที่เชื่อว่าเป็นที่กักขังอสูรไว้ 1 พันปี

ตำนานโบราณจากวัฒนธรรมญี่ปุ่นได้ส่งต่อความน่ากลัวนี้เอาไว้ที่ "Killing Stone Sessho-seki" (殺生石, Sesshōseki) ซึ่งกล่าวกันว่าหินได้ผนึกวิญญาณของปีศาจเอาไว้ และในเดือนนี้มีรายงานว่า หินก้อนนี้แตกออกแล้ว!

หินสังหาร (Killing Stone) เป็นหินภูเขาไฟขนาดใหญ่ โดยตามตำนานกล่าวว่า มันจะฆ่าทุกคนที่สัมผัส Killing Stone Sessho-sek ซึ่งสิ่งนี้ฝังลึกอยู่ในตำนานของญี่ปุ่น โดยเชื่อกันว่าเป็นซากศพของ Tamamo-no-Mae ในตำนานปีศาจจิ้งจอก 9 หาง ซึ่ง Tamamo-no-Mae เป็นหญิงสาวที่ถูกเปิดเผยว่าเป็นจิ้งจอกเก้าหาง หรือ คิตสึเนะ (kitsune)

โดย Tamamo-no-Mae จะใช้กลอุบายและการหลอกลวงด้วยการปลอมตัว เพื่อล่อลวงมนุษย์คนอื่น แต่บางคนเชื่อว่า มันจะแปลงมาเป็นผู้พิทักษ์รักษาหรือร่วมหอลงโรงด้วย และมีความเชื่อว่าจักรพรรดิโทบะ ก็ตายเพราะมันเช่นกัน

หลังจากที่จักรพรรดิตายเนื่องจากล้มป่วย คิตสึเนะก็ถูกเปิดเผยและถูกตามล่าโดยนักรบในตำนานสองคน และวิญญาณของมันก็ฝังตัวอยู่ใน Stone Sessho-seki และเพื่อป้องกันตัวเอง มันได้ปล่อยก๊าซพิษที่ฆ่าใครก็ตามที่สัมผัสมัน

สำหรับ “Killing Stone Sessho-seki” ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานในท้องถิ่นในปี 1957 จนกระทั่งนักบวชชาวพุทธได้ประกอบพิธีกรรมเพื่อให้วิญญาณได้พักในที่สุด

ตอนนี้มีรายงานว่าหินสังหารได้แยกออกเป็นสองส่วน ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากการกัดเซาะตามธรรมชาติ ตามรายงานของ Guardian พบว่าหินภูเขาไฟมีรอยร้าวเมื่อหลายปีก่อน และมีแนวโน้มว่าจะมีน้ำเข้ามา ซึ่งช่วยกัดเซาะจากด้านใน จนในที่สุดมันก็แตกออกจากกัน

แต่นี่ก็ไม่ได้หยุดความเชื่อโชคลาง เพราะยังไงซะนักท่องเที่ยวที่แห่กันไปชมหินสังหารก็กล่าวว่า “รู้สึกเหมือนได้เห็นสิ่งที่พวกเขาไม่ควรเห็น”

โดยหลังจากข่าวเรื่องที่หินได้แตกออกจากกันเผยแพร่ออกไป ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่าน นักท่องเที่ยวก็ลดลงอย่างเห็นได้ชัดเนื่องจากความสยดสยอง

Masaharu Sugawara หัวหน้ากลุ่มมัคคุเทศก์อาสาสมัครในท้องถิ่นบอกว่านี่เป็น “ความอัปยศ” ที่ก้อนหินแตกออกเพราะสิ่งนี้เป็นสัญลักษณ์ของพื้นที่ แต่ก็คิดว่าธรรมชาติได้เข้าสู่วิถีทางแล้ว

เพิ่มเติมเกี่ยวกับปีศาจจิ้งจอก

ในญี่ปุ่นสมัยก่อน มนุษย์และจิ้งจอกมักจะอยู่ใกล้ชิดกัน ความสัมพันธ์นี้เอง ที่ก่อให้เกิดความเชื่อเรื่องคิตสึเนะ ในลัทธิชินโตยังเชื่อว่า หมาจิ้งจอกเป็นผู้เดินสารของเทพเจ้าอินาริ ความเชื่อนี้ทำให้หมาจิ้งจอกมีบทบาทในเรื่องเหนือธรรมชาติ เพื่อดลบันดาลให้เกิดความอุมสมบูรณ์ขึ้น

ที่หน้าศาลเจ้าฟูชิมิอินาริ ที่จังหวัดเกียวโต จึงมีรูปปั้นหมาจิ้งจอกประดับอยู่ เสมือนเป็นยามหรือทวารบาลรักษาทางเข้า โดยบางตัวจะคาบสิ่งที่มีลักษณะคล้ายสาส์น อันหมายถึงเป็นตัวแทนหรือสื่อกลางระหว่างมนุษย์กับเทพเจ้า หรือบางตัวคาบรวงข้าว หมายถึง การเป็นตัวแทนของความอุดมสมบูรณ์

九尾の狐(きゅうびのきつね)伝説 殺生石 栃木県那須町

อนึ่ง ญี่ปุ่นยังเชื่อว่า ปิศาจจิ้งจอกมีหางมากเท่าไร ก็หลักแหลมและทรงอำนาจมากเท่านั้น ฉะนั้น จึงมีผู้บูชาปิศาจจิ้งจอกเสมือนเทพ

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

รายการบล็อกของฉัน