“เจอร์บัว” (Jerboas) สัตว์ฟันแทะที่ได้ขึ้นว่า “มีหูใหญ่มากที่สุดในโลก” ซึ่งหูของมันมีขนาดใหญ่เป็น 2 ใน 3 ของขนาดตัว มีถิ่นกำเนิดในทะเลทรายทางตอนใต้ของมองโกเลีย มีหน้าตาคล้ายหนู แต่ขาหลังยาวเหมือนจิงโจ้ ส่วนขาหน้าเล็กคล้ายที-เร็กซ์ มีขนาดตัวเพียง 7-10 เซนติเมตร เห็นตัวจิ๋วแบบนี้ แต่พวกมันมีสกิลที่น่าทึ่งสุด ๆ
ด้วยความที่ขายาว + ตัวเล็ก ทำให้มันปราดเปรียวและมีความเร็วสูงมันมี แถมยังมีปฏิกิริยาในการป้องกันตัวระดับฮาคิสังเกต (หากในไม่เคยดูการ์ตูนวันพีช ‘ฮาคิสังเกต’ คือการรับรู้อันตรายล่วงหน้า) โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย พบว่า มันเป็นหนูชนิดเดียวที่สามารถเอาตัวรอดจากนักล่าแห่งทะเลทรายอย่างงูหางกระดิ่งได้ เนื่องจากเจ้าหนูเจอร์บัวนั้นมีความเร็วที่มากกว่านั่นเอง
โดยความเร็วในการฉกของงูห่างกระดิ่งคือ 100 มิลลิวินาที ซึ่งเร็วกว่าการกระพริบตา 1 ครั้งของมนุษย์เราเสียอีก (การกระพริบตา 1 ครั้งใช้เวลาประมาณ 150 มิลลิวินาที) แต่ทว่าหนูเจอร์บัวมีความเร็วในการกระโดดหลบคู่ต่อสู้คือ 70 มิลลิวินาที นั่นหมายความว่า ไม่ว่ายังไงงูห่างกระดิ่งก็ไม่มีวันล่าหนูเจอร์บัวได้อย่างแน่นอน
นอกจากนี้ มันยังอึดสุด ๆ เพราะพวกมันสามารถมีชีวิตอยู่รอดได้นานถึง 3 ปี แม้ไม่กินน้ำเลย เนื่องจากเจอร์บัวได้รับความชื้นจากแหล่งอาหารที่พวกมันกินอยู่แล้ว นั่นคือ รากพืช ต้นหญ้าทะเลทราย แมลงขนาดเล็ก ซึ่งอาหารจำพวกนี้จะสะสมน้ำไว้มากเพียงพอสำหรับการอยู่รอดระยะยาวได้
ทั้งนี้ ความรับของประสาทการรับรู้ถึงอันตรายที่ยอดเยี่ยมมาจากหูที่ยาวและใหญ่ของมันนั่นเอง เพราะสามารถรับรู้การเคลื่อนไหวของสิ่งรอบตัวได้ไกลมาก นั่นทำให้มันสามารถได้ยินเสียงของศัตรูอย่างงูหางกระดิ่งที่เข้ามาใกล้ได้ อีกทั้ง หูของมันยังช่วยค้นหาที่อยู่ของแมลงและกำหนดทิศทางในการกระโดดจับกลางอากาศได้อย่างแม่นยำอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเกี่ยวกับพวกมันนั้นยังถือว่ามีไม่มากนัก เพราะพวกมันมีจำนวนน้อยและหายาก ทำให้ IUCN ไม่อาจจะประเมินจำนวนที่แน่ชัดได้ และแม้จะมีสกิลระดับสุดยอดแต่นักวิจัยเชื่อว่าประชากรในธรรมชาตินั้นลดลงมากกว่า 80% ตลอดระยะเวลา 10 ปีผ่านมา ทำให้หนูเจอร์บัวถูกจัดให้อยู่ใน 100 สัตว์ใกล้สูญพันธุ์มากที่สุดในโลก
👉– แม้เจอร์บัวจะมีหน้าตาคล้ายหนู แต่เชื่อหรือไม่ว่า พวกมันไม่มีความเกี่ยวข้องกันเลย และเจอร์บัวก็ไม่ได้เป็นญาติกับสัตว์ชนิดใดบนโลกอีกด้วย
มันวิวัฒนาการขึ้นมาบนโลกเมื่อหลายล้านปีก่อน และยังคงมีชีวิตรอดและสืบสายพันธุ์มาถึงทุกวันนี้ และสาเหตุที่พวกมันมีจำนวนลดลง เป็นเพราะสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง + แหล่งที่อยู่และอาหารค่อย ๆ ลดลง จากการรุกคืบของมนุษย์