สำนักข่าวซินหัวประจำนครคุนหมิงรายงานว่า ที่ผ่านมา มีการเผยแพร่ภาพวัตถุคล้าย "ฟอสซิลมังกร" ที่ขุดพบบริเวณริมแม่น้ำเล็กๆ
ในหมู่บ้านเหลาฉ่าง ตำบลผิงซ่าง อำเภอเจิ้นสยง นครคุนหมิง มณฑลยูนนาน
ในหมู่บ้านเหลาฉ่าง ตำบลผิงซ่าง อำเภอเจิ้นสยง นครคุนหมิง มณฑลยูนนาน
สำนักข่าวซินหัวประจำนครคุนหมิงรายงานว่า วันที่ 12 มิถุนายน ที่ผ่านมา มีการเผยแพร่ภาพวัตถุคล้าย “ฟอสซิลมังกร” ที่ขุดพบบริเวณริมแม่น้ำเล็กๆ ในหมู่บ้านเหลาฉ่าง ตำบลผิงซ่าง อำเภอเจิ้นสยง นครคุนหมิง มณฑลยูนนาน ซึ่งได้รับความสนใจจากชาวเน็ตเป็นอย่างมาก
จากนั้นได้มีผู้เชี่ยวชาญออกมาเผยว่า มันไม่ใช่ “ฟอสซิลมังกร” อย่างที่เข้าใจกัน แต่เป็นส่วนลำต้นของซากดึกดำบรรพ์ของไม้ที่กลายเป็นหิน ซึ่งเป็นพืชชนิดหนึ่งในไฟลัมไลโคไฟตา (Division Lycophyta) ที่มีชีวิตอยู่ในปลายยุคเพอร์เมียน (Permian) เมื่อ 250 ล้านปีก่อน
จากภาพเผยให้เห็นชิ้นส่วนที่มีความยาวประมาณ 130 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางยาว 17 ซม. มีสีดำและแข็ง ส่วนของ “เกล็ด” มีผิวเรียบและเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบ จึงทำให้ชาวบ้านบางคนเดาว่ามันเป็นฟอสซิลของงูหลามยักษ์ บ้างก็บอกว่ามันคือ “ฟอสซิลมังกร”
ศ.เฝิงจัว อาจารย์พิเศษห้องปฏิบัติการหลักสัตว์และพืชดึกดำบรรพ์ศึกษาระดับปริญญาเอกของ ม.ยูนนาน อธิบายว่า
สิ่งที่ชาวบ้านขุดพบนั้นเป็นซากดึกดำบรรพ์ของไม้กลายเป็นหินที่พบได้ทั่วไป เป็นพืชชนิดหนึ่งในไฟลัมไลโคไฟตาที่สูญพันธุ์ไปแล้ว และเคยอยู่ในยุคคาร์บอนิเฟอรัส (Carboniferous) และยุคเพอร์เมียน (permian) จึงนับว่ามีความสำคัญต่อโลกในฐานะซากพืชที่ตกตะกอนและกลายเป็นถ่านหิน
สิ่งที่ชาวบ้านขุดพบนั้นเป็นซากดึกดำบรรพ์ของไม้กลายเป็นหินที่พบได้ทั่วไป เป็นพืชชนิดหนึ่งในไฟลัมไลโคไฟตาที่สูญพันธุ์ไปแล้ว และเคยอยู่ในยุคคาร์บอนิเฟอรัส (Carboniferous) และยุคเพอร์เมียน (permian) จึงนับว่ามีความสำคัญต่อโลกในฐานะซากพืชที่ตกตะกอนและกลายเป็นถ่านหิน
โดยซากดึกดำบรรพ์ไม้กลายเป็นหินนี้ มีอายุราว 350 – 250 ล้านปีก่อน อยู่ในยุคคาร์บอนิเฟอรัส (Carboniferous) และยุคเพอร์เมียน (permian) สามารถเจริญเติบโตได้จนมีลักษณะสูงใหญ่ อาจสูงได้เกือบ 50 เมตร เมื่อใบร่วงโรยแล้ว ผิวของลำต้นจึงทิ้งรอยตาของต้นไม้เอาไว้ ทำให้มีลักษณะคล้ายกับเกล็ดปลาและงู