เปียโน เป็นเครื่องดนตรีขนาดใหญ่ที่สร้างเสียงเมื่อคีย์ถูกกดและกลไกภายในเครื่องตีสาย คำว่าเปียโนเป็นตัวย่อของคำว่า ปีอาโนฟอเต (pianoforte) - (ออกเสียงว่า ปี-อ๊า-โน่-ฟอ-เต้) ซึ่งเป็นคำภาษาอิตาลีที่แปลว่า "เบาดัง" มาจากความสามารถของเปียโนที่จะปรับความดังเบาตามแรงที่กดคีย์ในฐานะเครื่องสาย เปียโนมีความคล้ายคลึงกับคลาวิคอร์ด (clavichord) และฮาร์ปซิคอร์ด (harpsichord) จะแตกต่างกันเพียงวิธีการสร้างเสียง สายฮาร์พซิคอร์ดจะถูกดีดหรือเกาโดยขนนก ส่วนสายของคลาวิคอร์ดจะถูกเคาะด้วยกลไกที่จะยังคงสัมผัสกับสายอยู่ตลอดเวลาหลังการเคาะ เพื่อบังคับความถี่ของการสั่น ส่วนสายเปียโนถูกเคาะด้วยลิ่มที่สะท้อนกลับในทันที
เพื่อให้เกิดการสั่นของสายอย่างเป็นอิสระ เปียโนเป็นเครื่องดนตรีที่ำสำคัญในดนตรีคลาสสิกตะวันตก ดนตรีแจ๊ซ ภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ และดนตรีอีกหลายรูปแบบ เปียโนยังเป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในหมู่ชนชั้นกลางและชนชั้นสูง.
เปียโนถูกคิดค้นขึ้นที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี โดยบาร์โทโลเมโอ คริสโตโฟรี รายละเอียดเวลาที่คริสโตโฟรีประดิษฐ์เปียโนเครื่องแรกนั้นไม่ชัดเจน
แต่จากบันทึกของครอบครัวเมดิชิ ผู้ที่ว่าจ้างคริสโตโฟรี ปรากฏว่ามีเปียโนตั้งแต่ปี ค.ศ. 1700 คริสโตโฟรีสร้างเปียโนอีก 20 เครื่องก่อนที่เขาจะเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1731 และเปียโน 3 ตัวของเขาที่ยังคงอยู่ในปัจจุบันย้อนมาจากช่วงปี ค.ศ. 1720เปียโน เหมือนการพัฒนาทางเทคโนโลยีอื่นๆ มีรากฐานมาจากพัฒนาการของฮาร์ปซิคอร์ด ตลอดหลายศตวรรษ ซึ่งรวมถึงขั้นตอนการผลิตแผ่นขยายเสียง โครง และ คีย์บอร์ด คริสโตโฟรีเองก็เป็นผู้ผลิตฮาร์พซิคอร์ด
ความสำเร็จใหม่ที่สำคัญของคริสโตโฟรีคือการให้ค้อนตีสายเปียโนโดยไม่ค้างอยู่กับสาย (เพื่อให้เสียงที่ชัด).
นอกจากนั้น ตัวค้อนยังจำเป็นที่จะต้องกลับสู่ตำแหน่งเดิมโดยไม่ดีดหรือเด้งอย่างรุนแรง และที่สำคัญ เปียโนยังจำเป็นที่จะเล่นโนต์ที่รัวได้ เปียโนตัวแรกๆ ของคริสโตโฟรีทำขึ้นมาด้วยสายที่บางกว่าเปียโนปัจจุบัน ทำให้เสียงนั้นเบากว่าเปียโนปัจจุบันมาก. แต่เมื่อเทียบกับคลาวิคอร์ด (เครื่องดนตรีเพียงชนิดเดียวในยุคนั้นที่สามารถควบคุมความเบาหรือดัง) เปียโนมีความดังมากกว่า
เครื่องดนตรีใหม่นี้ไม่ได้รับความสนใจมากนักจนนักเขียนชาวอิตาลีนามว่าสกีปีโอเน มาเฟอี (Scipione Maffei) ได้เขียนและตีพิมพ์บทความ (ค.ศ. 1711) ที่พูดอย่างน่าตื่นตาตื่นใจถึงข้อดีของเปียโน. มาเฟอีได้รวมแบบของเปียโนไว้ในบทความ และกระตุ้นให้ผู้ผลิตอื่นๆ
เริ่มที่จะสร้างเปียโนตามแบบของคริสโตโฟรีหนึ่งในผู้ผลิตนี้คือกอตต์เฟรด ซิลเบอร์แมน (Gottfried Silbermann) ซึ่งมีชื่อเสียงในฐานะผู้ผลิตออร์แกน. เปียโนของซิลเบอร์แมนแทบจะเป็นการเลียนแบบของคริสโตโฟรี ยกเว้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ คือคันเหยียบที่ยกแดมเปอร (์Damper Pedal) ออกจากทุกสายในเวลาเดียวกัน. หลังจากนั้น เปียโนส่วนมากก็นำสิ่งประดิษฐ์ของซิลเบอร์แมนมาใช้.
ซิลเบอร์แมนได้นำเปียโนของเขาไปแสดงให้โยฮัน เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach) ในช่วงปี ค.ศ. 1730 แต่บาคก็แสดงความไม่ชอบใจที่โน้ตสูงของเปียโนยังคงเบาและไม่สามารถให้ความไพเราะอย่างเต็มที่. ซิลเบอร์แมนจึงได้พัฒนาเปียโนเพิ่มขึ้นอีก จนบาคให้ความเห็นด้วยกับเปียโนของซิบเบอร์แมนราวปี ค.ศ. 1747
การผลิตเปียโนเข้าสู่ยุครุ่งเรืองในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยเฉพาะในหมู่ผู้ผลิตเปียโนแห่งกรุงเวียนนา ซึ่งรวมถึงโยฮัน แอนเดรียส สไตน (Johann Andreas Stein) และแนนเนต์ สไตน (Nannette Stein) ลูกสาวของโยฮัน แอนเดรียส. เปียโนเวียนนานั้นมีโครงไม้ สายสองเส้นต่อโน้ต และค้อนหนัง.
นักประพันธ์ชื่อดังอย่างโวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart) เองก็ได้ประพันธ์เพลงเพื่อเล่นบนเปียโนชนิดนี้. เปียโนในยุคของโมซาร์ทนั้นมีเสียงที่ใสกว่าปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้มีพลังเสียงน้อยกว่าเปียโนในปัจจุบันในปัจจุบัน คำว่าฟอร์เตเปียโน (fortepiano) ใช้แยกแยะระหว่างเปียโนยุคคริสต์ศตวรรษที่ 18 และเปียโนในปัจจุบัน
ประเภทเปียโน เปียโนในปัจจุบันมีรูปแบบสองรูปแบบ คือเปียโนตั้งตรงและแกรนด์เปียโน แกรนด์เปียโน (Grand) เป็นเปียโนที่มีสายและโครงวางในแนวนอน โดยที่สายเสียงนั้นจะถูกขึงออกจากคีย์บอร์ด ซึ่งทำให้มีเสียงและลักษณะที่ต่างออกไปจากเปียโนตั้งตรงแต่จะใช้ที่ทางมาก ทั้งยังจำเป็นต้องหาห้องที่มีการสะท้อนเสียงที่พอเหมาะสำหรับคุณภาพเสียงที่ดีที่สุด
ในบรรดาแกรนด์เปียโนเองยังมีหลายขนาดและประเภท ซึ่งอาจจะแตกต่างกันตามผู้ผลิตหรือรุ่น แต่ก็ยังสามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ เช่น คอนเสิร์ตแกรนด์ ที่มีขนาดประมาณ 3 เมตร แกรนด์ ที่มีขนาดประมาณ 1.8 เมตร หรือ เบบี้แกรนด์ ที่มักจะสั้นกว่าความกว้าง. เปียโนที่มีความยาวจะสร้างเสียงที่ดีกว่าและเพี้ยนน้อยกว่าเปียโนเครื่องอื่น ๆ แกรนด์เปียโนใหญ่จึงเป็นที่นิยมใช้ในคอนเสิร์ตอัพไรท์เปียโน (Upright) เป็นเปียโนที่มีสายและโครงวางในแนวตั้ง และขึงสายเปียตั้งแต่ด้านล่างจนถึงด้านบนของเปียโน
แต่เปียโนประเภทนี้ไม่สามารถควบคุมการสร้างเสียงได้นุ่มนวลเท่าแกรนด์เปียโน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเทคโนโลยีเปียโนตั้งตรงได้พัฒนาคุณภาพเสียงมากขึ้น โดยการปรับปรุงโครงสร้างภายในให้ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ทำให้ได้คุณภาพเสียงที่ดีขึ้นโดยใช้พื้นที่ในการตั้งวางน้อยกว่าแกรนด์ แต่ให้เสียงที่ใกล้เคียงมากขึ้นในปี ค.ศ. 1863 เฮนรี ฟอร์โนว์ (Henry Fourneaux) ประดิษฐ์เปียโนที่สามารถเล่นตัวเองได้ (player piano) โดยใช้ม้วนเหล็กที่เดินเครื่องกลในตัวเปียโน
ตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เริ่มมีการผลิตเปียโนดิจิตัลขึ้นใช้ โดยเลียนแบบเสียงของเปียโน เปียโนประเภทนี้เริ่มที่จะมีความซับซ้อนและการทำงานที่มากขึ้น โดยสามารถเลียนแบบชิ้นส่วนของเปียโนจริง เช่น น้ำหนักคีย์บอร์ด คันเหยียบ และเสียงเครื่องดนตรีอื่น อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีปัจจุบันยังไม่สามารถที่จะทดแทนเปียโนเครื่องจริง
คีย์บอร์ด เปียโนสมัยใหม่เกือบทุกตัวจะมี 88 คีย์ (มากกว่า 7 Octave เล็กน้อย เรียงลำดับตั้งแต่ A0 ถึง C8) เปียโนรุ่นเก่าหลายตัวมีเพียง 85 คีย์ (ตั้งแต่ A0 ถึง A7) ผู้ผลิตบางรายก็อาจจะเพิ่มปริมาณคีย์ให้มากกว่านั้น โดยบ้างก็เพิ่มเพียงฝั่งเดียวก็เพิ่มทั้งสองฝั่ง ตัวอย่างที่ดีที่สุดก็คือเปียโนBösendorfer ซึ่งบางตัวเพิ่มคีย์เสียงต่ำลงไปกว่าปกติจนถึง F0 บางทีต่ำลงไปจนถึง C0 เลยก็มี ทำให้มีครบ 8 octave บางรุ่นอาจจะซ่อนคีย์พิเศษที่เพิ่มขึ้นมานี้ไว้ใต้ฝาปิดเล็กๆ ซึ่งสามารถปิดคีย์เอาไว้ได้เพื่อป้องกันไม่ให้นักเปียโนที่คุ้นกับเปียโนปกติเห็นแล้วเกิดความสับสนกับคีย์พิเศษที่เพิ่มขึ้นมา บางตัวก็อาจจะสลับสีคีย์พิเศษที่เพิ่มขึ้นมาเหล่านี้ (สลับดำเป็นขาว ขาวเป็นดำ) ด้วยเหตุผลเดียวกันนั่นเอง คีย์ที่เพิ่มขึ้นมานั้นโดยมากแล้วก็มีไว้เพื่อสร้างเสียงสะท้อน (resonance) ได้มากขึ้น
ซึ่งก็คือมันจะสั่นไปพร้อมกับสายเปียโนเส้นอื่นๆ เมื่อใดก็ตามที่เหยียบคันเหยียบ ซึ่งก็จะให้เสียงได้เต็มกว่า มีเพลงที่แต่งขึ้นมาสำหรับเปียโนไม่กี่เพลงนักที่จะใช้คีย์พิเศษเหล่านี้ ไม่นานมานี้ บริษัท Stuart and Sons ได้ผลิตเปียโนที่มีคีย์มากกว่าปกติออกมาเช่นกัน เปียโนของบริษัทนี้จะเพิ่มคีย์เสียงแหลมขึ้นไปจนถึง 8 octave เต็ม ซึ่งคีย์พิเศษที่เพิ่มขึ้นมาก็ดูเหมือนคีย์ปกติทุกประการ
สำหรับการจัดเรียงคีย์บนเปียโน ให้ดูในหมวด Musical keyboard การจัดเรียงเช่นนี้ได้แบบมาจาก harpsichord โดยไม่ผิดเพี้ยน เว้นแต่สีของลิ่มคีย์ (สีขาวสำหรับเสียงปกติ และสีดำสำหรับชาร์ป sharps) ซึ่งกลายมาเป็นมาตรฐานสำหรับเปียโนในตอนปลายศตวรรษที่ 18คันเหยียบ (Pedal) ของ Upright Pianoเปียโนมีการใช้คันเหยียบหรืออุปกรณ์ที่มีลักษณะใกล้มาตั้งแต่ยุคต้นๆ (ในคริสต์ศตวรรษที่ 18เปียโนบางตัวใช้แท่นแทนคันเหยียบ โดยให้ผู้เล่นใช้เข่าดันขึ้น คันเหยียบสามประเภทซึ่งได้กลายมาเป็นมาตรฐานในเปียโนปัจจุบัน ได้แก่...
คันเหยียบ damper pedal (บ้างก็เรียก sustain pedal หรือ loud pedal) มักจะถูกเรียกว่า "the pedal" เฉยๆเพราะว่าเป็นคันเหยียบที่ถูกใช้งานมากที่สุด ซึ่งเป็นคันเหยียบที่อยู่ทางขวาสุด คันเหยียบที่พบเห็นโดยมากที่ติดอยู่กับเปียโนนั้นโดยส่วนมากจะมีอยู่ 3 อัน ในเปียโนบางตัวจะมี 2 อัน โดยจะเทียบได้เท่ากับ อันซ้ายสุดและอันขวาสุดของเปียโนที่มี 3 อัน ซึ่งจะช่วยให้การเล่นเปียโนนั้นมี dynamic ต่าง ๆ กันได้แก่
คันเหยียบอันซ้ายสุด มีไว้เพื่อลดความดังของเปียโน ในแกรนด์เปียโน เมื่อเราเหยียบคันเหยียบอันนี้แล้ว ชุดของคีย์บอร์ดรวมทั้งไม้ฆ้อนจะขยับไปทางซ้ายหรือทางขวาเล็กน้อย เพื่อให้ไม้ฆ้อนตีถูกสายเพียงครึ่งเดียว (ปกติเปียโนจะมีสาย 1 ถึง 3 เส้น ต่อ 1 คีย์) ทำให้เสียงเบาลง ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า (Una Corda แปลว่า สายเส้นเดียว) ส่วนในอัพไรท์เปียโน
เมื่อเราเหยียบคันเหยียบอันนี้แล้ว จะมีคานมาดันชุดไม้ฆ้อนให้ขยับเข้าไปใกล้กับสายมากขึ้น ทำให้เมื่อกดคีย์แล้ว ไม้ฆ้อนจะเหวี่ยงตัวได้น้อยกว่าปกติ แรงที่เคาะสายจึงน้อยลงด้วย ผลที่ตามมาก็คือ เสียงที่ค่อยกว่า และนุ่มนวลกว่า และจะได้เสียงที่นุ่มลงกว่าเดิม แต่เมื่อเรายกเท้าจากคันเหยียบอันนี้เสียงเปียโนก็จะกลับมาเป็นเหมือนเดิม
คันเหยียบอันกลาง ในแกรนด์เปียโนเรียกว่า sostenuto pedal เมื่อเหยียบแล้ว จะดำรงเสียงของตัวโน้ตที่กดไว้ก่อนเหยียบคันเหยียบนี้เท่านั้น โดย damper จะเปิดขึ้น (โน้ตอื่นๆ ที่กดหลังจากเหยียบคันเหยียบ damper จะทำงานปกติ ทำให้เสียงสิ้นสุดเมื่อปล่อยนิ้ว) ส่วนในอัพไรท์เปียโน เรียกว่า soft pedal มีไว้เพื่อลดความดังของเปียโน เมื่อเราเหยียบคันเหยียบอันนี้แล้ว
จะมีผ้ามากั้นระหว่างฆ้อนกับสาย เพราะฉะนั้นเมื่อเรากดคีย์ เสียงที่ได้จะเบาลง คันเหยีบบอันนี้มีความพิเศษก็คือ มันจะมีช่องสำหรับให้คันเหยียบอันนี้ค้างอยู่ได้ จึงทำให้เราไม่ต้องเมื่อยเมื่อต้องใช้เสียงเบา หรือต้องการใช้ dynamic แบบนี้นาน ๆ ได้ และเรายังสามารถปรับความดัง-เบา นุ่มลึกได้โดยการปรับระดับของแผ่นผ้าที่เคลื่อนลงมากั้นระหว่างฆ้อนเมื่อจะเคาะสายเปียโนได้อีกด้วย (แต่การปรับนั้นต้องเปิดฝาข้างล่างของเปียโนก่อน) ในอัพไรท์เปียโนมักใช้คันเหยียบนี้ในการซ้อมเปียโนเวลาไม่ต้องการให้มีเสียงดังมาก รบกวนคนอื่น
คันเหยียบอันขวาสุด คันเหยียบอันนี้มักจะถูกใช้บ่อย ๆ ซึ่งคำว่า pedal หรือ sustain ที่เราใช้เรียกอุปกรณ์ชิ้นนี้นั้นก็มาจากการทำงานของคันเหยียบตัวนี้ นั่นคือมันมีไว้เพื่อลากเสียงของโน้ตให้ยาวขึ้น คือเมื่อเรากดคีย์เปียโน 1 ครั้งและยกมือออกจากคีย์ เสียงก็จะหยุดทันที แต่คันเหยียบตัวนี้จะทำให้เกิดโน้ตที่มีเสียงยาวขึ้นโดยที่เราไม่ต้องกดมือค้างไว้ เพื่อจะได้เล่นโน้ตตัวอื่นได้อีก ทำให้เกิด hamony ขึ้นในเพลง
เพิ่มความก้องกังวาน และความไพเราะให้กับการบรรเลงเปียโนของเรามากขึ้น (การเหยียบคันเหยียบอันนี้ค้างไว้นาน ๆ นั้นไม่ได้ทำให้การบรรเลงเพลงไพเราะเลยทีเดียวนะครับ เพราะการเหยียบนาน ๆ ค้างไว้จะทำให้เสียงของโน้ตหลาย ๆ เสียงเกิดปนกัน ทำให้เกิดคู่เสียงอันไม่พึงประสงได้ เพราะฉะนั้นหากจะใช้คันเหยียบอันนี้ก็ต้องฝึกฝน ไม่ยากเกินความสามารถแน่นอน)
VIDEO
VIDEO
JENNIE「SOLO」Piano Cover