Custom Search

อาชีพอิสระ

อาชีพอิสระในบ้านเรามีมากมายหลายประเภท
แต่ถ้าจะแบ่งออกเป็นกลุ่มหลักๆอาชีพอิสระมีอะไรบ้าง อาชีพอิสระในบ้านเรามีมากมายหลายประเภท

แต่ถ้าจะแบ่งออกเป็นกลุ่มหลักๆ ก็น่าจะแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มดังนี้

กลุ่มที่ 1 : อาชีพอิสระที่ดำเนินงานภายใต้ธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง
กลุ่มที่ 2 : อาชีพอิสระที่ดำเนินการด้วยตัวเอง

1. อาชีพอิสระที่ดำเนินงานภายใต้ธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง
อาชีพในกลุ่มนี้ได้แก่ ตัวแทนขายประกันชีวิต ตัวแทนขายตรง ขายแบบเครือข่าย ขายแบบหลายชั้น
ขายแบบลูกโซ่ ฯลฯ เป็นอาชีพที่เราไม่ต้องไปลงทุนอะไรเอง ลงแรงไปเรียนไปอบรมเท่านั้น บางธุรกิจ
อาจจะต้องลงทุนในการเสียค่าสมัคร ค่าซื้อสินค้าสำหรับการสาธิตบ้าง แต่ก็ไม่มากมายอะไรการทำงาน
ต้องทำอยู่ในกรอบใหญ่ๆที่ธุรกิจนั้นๆกำหนดไว้ แต่รูปแบบ วัน เวลา สถานที่การทำงาน เรามีอิสระอย่าง
เต็มที่วันไหนอยากทำก็ทำ วันไหนไม่อยากทำก็ไม่ต้องทำได้

2. อาชีพอิสระที่ดำเนินการด้วยตัวเอง
อาชีพในกลุ่มนี้ได้แก่ วิทยากรอิสระ นักเขียนอิสระ ที่ปรึกษาอิสระ นักเขียนโปรแกรมอิสระ นักจัดอบรม/
สัมมนาอิสระ ฯลฯ รวมถึงคนที่ทำธุรกิจส่วนตัวที่ต้องลงแรงทำด้วยตนเอง เช่น ขายอาหาร ขายของชำ
ผลิตสินค้าบางอย่างขายเอง ฯลฯ อาชีพในกลุ่มนี้มีอิสระอย่างเต็มที่ทุกอย่าง แต่ก็เหนื่อยทุกอย่าง
เหมือนกัน เพราะต้องทำเองทั้งหมด วันไหนไม่ทำก็อด ไม่เหมือนอาชีพอิสระในกลุ่มแรกที่พอทำไปถึง
ระดับหนึ่ง วันไหนไม่ทำก็ยังพอมีรายได้เข้ามาจากเครือข่ายหรือลูกทีม
แนะนำอาชีพอิสระที่น่าสนใจ

อาชีพวิทยากร

อาชีพวิทยากรเป็นอาชีพที่น่าทำอาชีพหนึ่ง เพราะเป็นอาชีพที่ถึงแม้ไม่มีมรดกจากพ่อแม่ให้ก็ทำได้ เป็น อาชีพที่มีทั้งเกียรติและเงิน เป็นอาชีพที่มีสินค้าเพียงอย่างเดียวคือความรู้ขายได้หลายครั้งไม่มีวันหมด ยิ่งขายยิ่งแพง(ค่าตัวเพิ่มขึ้นตามชั่วโมงบิน) เป็นอาชีพที่ไม่มีใครจ่ายเงินเชื่อ(บรรยายเสร็จจ่ายเลย ไม่มีเครดิตเทอม) เป็นงานที่รับผิดชอบเพียงเช้าถึงเย็น จบก็กลับบ้านไม่ต้องเอาภาระอะไรติดตัวกลับบ้าน

ข้อจำกัดก็มีบ้าง เช่น ทำงานเป็นรายวัน ต้องทำไม่ทำอด งานไม่แน่นอน เพราะไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้ว่า ใครจะเชิญเมื่อไหร่ นอกจากนี้อาชีพนี้ก็ไม่สามารถถ่ายทอดเป็นมรดกให้กับลูกหลานได้ เพราะอาชีพ เฉพาะตัว

อาชีพที่ปรึกษา

เป็นอาชีพหนึ่งที่มีเกียรติและมีกิน เพราะรายได้ดี เป็นอาชีพที่ขายทั้งความรู้และประสบการณ์ มีอิสระ ใน การทำงานเพราะเราเป็นคนกำหนดสิ่งที่จะทำให้กับลูกค้า ยิ่งทำมากทำนานยิ่งเพิ่มพูนประสบการณ์ มีโอกาส เข้าเรียนรู้ในองค์กรต่างๆที่หลากหลาย ไม่ต้องทำงานทุกวัน ได้เงินเป็นก้อน

สำหรับข้อจำกัดของอาชีพนี้คือ เริ่มต้นยากเพราะยังไม่มีประสบการณ์และลูกค้าอ้างอิง ต้องมีเงินสำรองกิน ระหว่างที่รอเบิกเงินค่างวด ต้องรับผิดชอบงานตลอดระยะเวลาของโครงการ บางครั้งกะเกณฑ์ไม่ได้ว่า จะสามารถปิดโครงการได้เมื่อไหร่

อาชีพนักเขียน

เป็นอาชีพที่อิสระจริงๆ เพราะจะทำงานตรงไหน ที่ไหน เวลาไหนก็ได้ จะใส่ชุดอะไรทำงานก็ได้ จะทำๆหยุดๆ ก็ไม่มีใครว่าอะไร มีอารมณ์ก่อนแล้วค่อยทำ ไม่มีอารมณ์ไม่ต้องทำ ผลงานที่ออกมาเป็นชิ้นเป็นอัน อยู่นาน เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ที่ติดตัวและให้ลูกหลานได้ ถ้าหนังสือขายดี ก็กินยาวโดยไม่ต้องออกแรงอะไรเลย รอรับ เงินอย่างเดียว เป็นงานที่นำมาซึ่งชื่อเสียง ภาษีสังคมน้อย เพราะไม่ต้องไปเจอลูกค้า(ผู้อ่าน)ด้วยตนเอง ไม่ต้องเดินทางไปไหนให้เปลืองค่าน้ำมัน

ข้อจำกัดที่อาจจะมี เช่น ต้องใช้เวลานานกว่าจะได้เงินอย่างน้อยก็หกเดือนหรือเป็นปี ทำอาชีพนี้อย่างเดียว ถ้าไม่เก่งจริงหรือหนังสือขายดีจริงอาจจะไม่พอกิน
อาชีพขายประกันชีวิต

อาชีพนี้ดีตรงที่ว่าเป็นงานอิสระ ปกครองตัวเอง บริหารตัวเอง นำสิ่งที่ดีสู่ชีวิตคนอื่น เป็นงานทำบุญโดย ไม่รู้ตัว เป็นอาชีพที่มีโอกาสเรียนรู้และพัฒนาตนเองมาก เพราะมีวิทยากรที่เก่งๆคอยแนะนำอยู่ตลอดเวลา เป็นงานที่ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพทางสังคม ขายได้แล้วกินยาวพอสมควร พอถึงจุดๆหนึ่งแม้ว่าวันนี้ เดือนนี้ ไม่ได้ทำงานเลยก็ยังมีรายได้อยู่ เป็นอาชีพที่ท้าทาย เพราะต้องเรียนรู้นิสัยและจิตใจคนที่หลากหลาย ตลอดเวลา เป็นอาชีพที่สามารถก้าวกระโดดได้ด้วยความสามารถโดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องวุฒิ เพศ อายุ และ การศึกษา ทุกคนมีโอกาสไปถึงฝันอันสูงสุดได้เหมือนกัน

ข้อจำกัดก็มีบ้าง เช่น ต้องแบกหน้าไปคุยกับคนที่เราไม่รู้จักมาก่อน ต้องใช้ความอดทนมาก รายได้ไม่แน่ นอนในช่วงแรกๆที่เพิ่งเข้ามาทำอาชีพนี้ มีคนทำอาชีพนี้กันมาก คนส่วนใหญ่มีทัศนคติต่ออาชีพนี้ไม่ดี
อาชีพธุรกิจขายสินค้าระบบเครือข่าย

อาชีพนี้ก็มีข้อดีตรงที่มีอิสระในการทำงานโดยเฉพาะเรื่อง เวลา สถานที่ในการทำงาน เป็นอาชีพที่ต้อง เหนื่อยในช่วงแรก แต่พอเติบโตมีเครือข่ายมากเพียงพอแล้ว เก็บเกี่ยวอย่างเดียว เพราะคนอื่นทำงาน แทนเรา บางธุรกิจผลตอบแทนตกทอดถึงลูกหลายได้เหมือนกัน เป็นอาชีพที่ไม่มีข้อจำกัดเช่นกันว่า คุณจะ ต้องจบอะไรมา อายุเท่าไหร่ เพศไหน พื้นฐานทางครอบครัวเป็นอย่างไร นับถือศาสนาอะไร และทุกคนมี โอกาสที่จะก้าวขึ้นไปสู่ระดับต่างๆได้เหมือนกัน เพียงแต่ใครจะไปเร็วไปช้า ไปได้มากได้น้อยกว่ากัน เท่านั้นเอง นอกจากนี้อาชีพนี้ก็เป็นอาชีพหนึ่งที่มีโอกาสได้พัฒนาตนเองมากและตลอดเวลา เพราะมีการ จัดสัมมนาฟรีโดยผู้ที่มาบรรยายให้ฟังเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จจริง มีโอกาสได้กระตุ้นตัวเองอยู่ตลอดเวลา

ข้อจำกัดก็มีเหมือนกัน เช่น ต้องทำตามขั้นตอนในการขาย ต้องปกครองและดูแลลูกทีม ต้องทำงานหนักใน ช่วงแรกๆ ต้องแบกหน้าไปขายของ ลูกค้าบางคนมองอาชีพนี้ไม่ค่อยดี เพราะเจอประสบการณ์จากคนขาย ที่ไม่ดีมาก่อน
เรียบเรียงข้อมูลใหม่โดย manman

เคล็ดลับเทคนิคการสร้างแรงจูงใจ

เคล็ดลับและเทคนิคการสร้างแรงจูงใจในชีวิต
ถ้า วันไหนเรามีแรงจูงใจหรือกำลังใจในชีวิต น้อยกว่าปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นหรือกำลังจะเกิดขึ้น วันนั้นอาการที่แสดงออกมาคือ เบื่อ เซ็ง ขี้เกียจ ท้อแท้ ฯลฯ เปรียบเหมือนกับการที่เราขับรถยนต์ขึ้นภูเขา ถ้าวันไหนต้องขับขึ้นภูเขาที่สูงชันมากเกินกว่ากำลังเครื่องยนต์ของเราจะสู้ ได้ วันนั้น รถยนต์ของเราก็คงจะหยุดอยู่กับที่หรือไม่ก็ลื่นไถลตกลงมาสู่ที่ต่ำ ถ้าวันไหนเรามีแรงจูงใจหรือกำลังใจ มากกว่าปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้น วันนั้น อาการที่เราแสดงออกคือ สนุก ขยัน แรงฮึดเยอะ ไม่กลัว กล้าทำ กล้าลุย กล้าเสี่ยง ฯลฯ เปรียบเสมือนกับการที่เราขับรถยนต์ที่มีกำลังเครื่องยนต์แรงมากหรือเหมือน ขับรถโฟวีลที่สามารถขับขึ้นภูเขาลูกไหนก็ได้ ลุยกับสภาพถนนแบบไหนก็ได้

แรงจูงใจมีอยู่ในตัวคนเราอย่างไม่จำกัด แต่ข้อจำกัดอยู่ที่ใจของเราเองที่ไปจำกัดว่าเราไม่มี เราไม่ไหว เราไม่สู้ เช่น เวลาตื่นนอนตอนเช้าถ้าวันไหนเรารู้สึกเบื่อ ท้อ ขี้เกียจ การที่จะลุกขึ้นออกจากเตียงยังยากเลย แทบจะไม่มีแรงต่อสู้กับแรงดึงดูดของเตียง แต่ถ้าวันไหนมีกำลังไหม้บ้าน (แรงผลักที่เกิดจากความกลัว) หรือเราต้องไปขึ้นเครื่องบินไปเที่ยวต่างประเทศ(แรงดึงที่เกิดจากความอยาก) เราสามารถตื่นและลุกออกจากเตียงได้โดยไม่ต้องลังเล เราสามารถชนะแรงดึงดูดของเตียงนอนได้อย่างง่ายดาย สิ่งเหล่านี้แสดงว่าในความเป็นจริงแล้ว ศักยภาพในตัวเรามีอยู่อย่างไม่จำกัด ขึ้นอยู่กับว่าเรามีสิ่งกระตุ้น(ความอยากและความกลัว)และเทคนิควิธีการในการ ฉุดดึงเอาแรงจูงใจ ออกมาใช้ได้มากน้อยเพียงใดเท่านั้น
เพื่อให้ชีวิตของเรามีแรงขับเคลื่อนที่มากพอและต่อเนื่อง ผมขอแนะนำเทคนิคการสร้างแรงจูงใจจาก 2 แหล่งดังนี้

การสร้างแรงจูงใจ...จากเรื่องราวในอดีต
ชีวิตคนหนึ่งคน คือภาพยนตร์หนึ่งเรื่องที่ถ่ายเก็บไว้ตั้งแต่เกิด แต่ไม่ค่อยมีใครนำมาเปิดใช้ในระหว่างทางของชีวิต ส่วนใหญ่จะเปิดกันก็ต่อเมื่อเข้าสู่บั้นปลายของชีวิต เข้าข่ายที่ว่า “คนแก่ชอบเล่าเรื่องเก่า” เพราะชีวิตของคนกลุ่มนี้ไม่มีอนาคตแล้ว พลังที่จะช่วยให้ชีวิตของเรายังคงอยู่ต่อไปได้คือกำลังใจจากเรื่องราวในอดีต ที่รู้สึกภูมิใจ เล่ากี่ครั้งกี่หนก็ไม่เคยเบื่อ (แต่คนฟังเบื่อไปหลายรอบแล้ว) ถ้าเรายังไม่แก่ ขอแนะนำว่าควรจะนำเอาเรื่องเก่าทั้งที่เป็นจุดด้อยและความภูมิใจในชีวิตที่ ผ่านมา มาสร้างกำลังใจให้กับตัวเอง เมื่อไหร่ที่นึกถึงความยากลำบากในชีวิตที่ผ่านมาก็จะทำให้เราเกิดพลังที่จะ ขับเคลื่อนตัวเองให้หลุดพ้นจากสภาพที่เราเคยลำบากมาก่อน ในขณะเดียวกันถ้าเรานึกถึงเรื่องที่เราภูมิใจ อาจจะเป็นความสำเร็จในชีวิตที่ผ่าน ก็เท่ากับว่าเราได้ชาร์ตไฟให้กับตัวเองด้วยความภูมิใจในอดีตของตัวเราเอง

การสร้างแรงจูงใจจากอดีต ถือเป็นเทคนิคการสร้างแรงจูงใจแบบผลักดันให้ชีวิตเราเดินไปข้างหน้า ด้วยเรื่องราวที่ผ่านมาแล้ว เหมือนกับการที่เราเข็นรถยนต์ที่จอดอยู่จากด้านหลังของรถนั่นเอง ตัวอย่างเทคนิคการสร้างแรงจูงใจจากเรื่องราวในอดีต...
  • ใครเบื่อพ่อเม่ ขอให้นึกถึงตอนที่เราเจ็บไข้ไม่สบายตอนเด็กๆ ใครเป็นคนเผ้าดูแลเอาใจใส่เราตลอดเวลา
  • ใครเบื่องาน ขอให้นึกถึงวันเริ่มงานวันแรก
  • ใครเบื่อสามีหรือภรรยา ให้นึกถึงวันที่แต่งงาน
  • ใครเบื่อลูกให้นึกถึงวันที่คลอดลูกหรือไปรอหน้าห้องคลอด
  • ใครเบื่อคนรอบข้างให้นึกถึงวันที่เราเคยไปหลงป่าอยู่คนเดียว หรือวันที่เราต้องอยู่บ้านคนเดียว
  • ใครเบื่อตัวเอง ให้นึกถึงวันที่เราเคยให้คำปรึกษาผู้อื่น

การสร้างแรงจูงใจ...จากเรื่องราวในอนาคต
คนบางคน ในบางเวลา เรื่องราวในอดีตอาจจะช่วยสร้างแรงจูงใจให้ไม่ได้ อาจจะเป็นเรื่องในอดีตมีแต่เรื่องที่ช่วยฉุดแรงจูงใจให้ต่ำลงไปอีก จึงขอแนะนำให้ใช้เทคนิคสร้างแรงจูงใจโดยใช้เรื่องราว เหตุการณ์ในอนาคตมาหลอกล่อหรือดึงดูดใจ การสร้างแรงจูงใจในชีวิตเปรียบเสมือน การที่เราเข็นรถชีวิตที่จอดอยู่นิ่งๆ ถ้าไม่สามารถเข็นจากด้านหลังได้ ก็อาจจะต้องใช้วิธีการดึงจากข้างหน้า หรือไม่ก็อาจจะต้องใช้ทั้งสองทางรวมดัน(ทั้งดึงและดัน)


สำหรับการสร้างแรงจูงใจจากเรื่อง ราวในอนาคต เป็นการหลอกตัวเองให้วิ่งไล่จับความฝัน หลอกตัวเองให้กลัวการสูญเสียบางสิ่งบางอย่างในอนาคตไป เป็นการป้องกันคำว่า “เสียดาย” ในชีวิต เพราะคนหลายคนมักจะเกิดคำว่าเสียดายในหลายเรื่อง เนื่องจากมาคิดได้ก็สายไปเสียแล้ว วิธีการสร้างแรงจูงใจจากเรื่องราวในอนาคตเป็นการซ้อมคิดหาคำว่าเสียดายที่ อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต แล้วนำเอาความรู้สึกเสียดายนั้นๆมาใช้ในการสร้างแรงจูงใจ ตัวอย่างเทคนิคการสร้างแรงจูงใจจากเรื่องราวในอนาคต...
  • ใครเบื่อพ่อเม่ ขอให้นึกถึงวันสุดท้ายที่ท่านจากเราไป
  • ใครเบื่องาน ขอให้นึกถึงวันที่เขาจะให้เราออกจากงานหรือวันที่เราจะได้รับการเลื่อนตำแหน่ง
  • ใครเบื่อสามีหรือภรรยา ให้นึกถึงวันที่เขาจากเราไป
  • ใครเบื่อลูกให้นึกถึงวันที่ลูกประสบความสำเร็จ
  • ใครเบื่อคนรอบข้างให้นึกถึงวันที่คนเหล่านั้นมาร่วมแสดงความยินดีกับความสำเร็จของเรา
  • ใครเบื่อตัวเอง ให้นึกถึงวันที่เราจะประสบความสำเร็จ
สรุป แรงจูงใจไม่ต้องไปซื้อหาหรือหยิบยืมใครที่ไหน มันอยู่ในตัวของเราอยู่แล้ว เพียงแต่เราจะมีเทคนิควิธีการในการดึงมันขึ้นมาใช้ได้อย่างไร สำหรับเทคนิคที่ผมแนะนำไปนั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ผู้อ่านหลายท่านอาจจะมีเทคนิคเฉพาะของตัวเองอีกหลายวิธี ขอให้ลองฝึกดึงพลังภายในโดยการสร้างกำลังใจให้กับตัวเองบ่อยๆ รับรองได้ว่าชีวิตนี้ไม่มีวันหมด “กำลังใจ” อย่างแน่นอนครับ
เรียบเรียงข้อมูลโดยmanman

การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ

การทำงานเป็น “ ทีม - Team ”
การทำงานในสมัยปัจจุบันหรือการบริหารงานแนวใหม่นี้จะทำแบบ“ข้ามาคนเดียว”
หรือ “วันแมนโชว์” หรือ“ศิลปินเดี่ยว” หรือ “อัศวินม้าขาว” หรือ …อื่น ๆ ดูจะเป็นไปได้ยาก
การทำงานเป็น “ ทีม - Team ”
ทีม (Team) หมายถึง บุคคลที่ทำงานร่วมกันอย่างประสานงานภายในกลุ่ม
กล่าวคือ เป็นการรวมตัวของกลุ่มคนที่ต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน ในการทำงาน
เพื่อให้เกิดผลสำเร็จ
ทีมงาน (Team Work) หมายถึง กลุ่มคนที่มีความสัมพันธ์กันค่อนข้างจะใกล้ชิดและ
คงความสัมพันธ์อยู่ค่อนข้างจะถาวรซึ่งประกอบด้วยหัวหน้างานและเพื่อนร่วมงาน
โดยร่วมกันทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของทีมงาน
“การทำงานเป็นทีม” เป็นความร่วมมือร่วมใจของบุคคล เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายร่วมกัน
โดยต้องมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ (3P) ได้แก่
มีวัตถุประสงค์ (Purpose) ต้องชัดเจน
มีการจัดลำดับความสำคัญ (Priority) ในการทำงาน
มีผลการทำงาน (Performance)
ความแตกต่างระหว่างการทำงานแบบทีมและกลุ่ม (Teams vs Groups )
การทำงานแบบกลุ่ม (Work group) คือ การรวมกลุ่มที่มีกิจกรรมร่วมเพื่อใช้ข้อมูลร่วมกัน
และช่วยในการตัดสิ้นใจให้แก่สมาชิกในกลุ่มที่จะทำงานภายในขอบข่ายที่รับผิดชอบของ
แต่ละคนนั้น ในการทำงานของกลุ่มไม่จำเป็นที่จะต้องส่งเสริมซึ่งกันและกัน ดังนั้นจึงไม่มี
การเชื่อมโยงทรัพยากรและใช้ร่วมกันอย่างมีประสิทธิผลในทางบวก

นั่นคือเราใส่การทำงานของแต่ละคนเข้าไปผลงานที่ออกรวมกันแล้วจะได้เท่ากับที่ใส่เข้าไป
หรืออาจจะน้อยกว่าก็ได้
การทำงานแบบทีม ( Work teams) เป็นการทำงานร่วมกันและส่งเสริมกันไปในทางบวก
ผลงานรวมของทีมที่ได้ออกมาแล้วจะมากกว่าผลงานรวมของแต่ละคนมารวมกัน
ชนิดของทีมงาน
การแบ่งทีมในองค์กรสามารถที่จะแบ่งประเภท ตามวัตถุประสงค์ได้ 4 รูปแบบคือ
1. ทีมแก้ปัญหา (Problem - Solving Teams) ประกอบด้วยกลุ่มของพนักงาน และ
ผู้บริหารซึ่งเข้ามารวมกลุ่มด้วยความสมัครใจ และประชุมร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ
เพื่ออภิปรายหาวิธีการสำหรับการแก้ปัญหา โดยทั่วไปทีมแก้ปัญหาทำหน้าที่เพียง
ให้คำแนะนำเท่านั้น แต่จะไม่มีอำนาจที่จะทำให้เกิดการกระทำ ตามคำแนะนำ
ตัวอย่างของทีมแก้ปัญหาที่นิยมทำกัน คือ ทีม QC (Quality Circles)
2. ทีมบริหารตนเอง (Self - Managed Teams) หมายถึง ทีมที่สมาชิกทุกคนล้วน
รับผิดชอบต่อลักษณะทั้งหมดของการปฏิบัติงานอย่างแท้จริง โดยเป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร
ซึ่งสมาชิกจะปฏิบัติงานโดยทั่วไป มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบสำหรับงาน
ทีมบริหารตนเองสามารถที่จะเลือกสมาชิกผู้ร่วมทีม และสามารถให้สมาชิกมีการตรวจสอบ
ซึ่งกันและกัน
3. ทีมที่ทำงานข้ามหน้าที่กัน (Cross - Function Teams) เป็นการประสมประสาน
ข้ามหน้าที่งาน ความสามารถในการดึงทรัพยากรบุคคลผนวกเข้าด้วยกันจากหน้าที่
ทางธุรกิจที่แตกต่างกัน เพื่อสร้างสมรรถภาพในด้านความแตกต่าง โดยเป็นการใช้
กำลังแรงงาน ตั้งเป็นทีมข้ามหน้าที่ชั่วคราวซึ่งมีลักษณะคล้ายกับคณะกรรมการ
(Committees) เข้ามาเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน, พัฒนาความคิดใหม่ๆ ร่วมมือกันแก้ปัญหา
และทำโครงการที่ซับซ้อน ทีมข้ามหน้าที่ ต้องการเวลามากเพื่อสมาชิกจะต้องเรียนรู้งาน
ที่แตกต่าง ซับซ้อน และต้องใช้เวลาในการสร้างความไว้ใจ และสร้างการทำงานเป็นทีม
เนื่องจาก แต่ละคนมาจากภูมิหลังที่แตกต่างกัน
4. ทีมเสมือนจริง (Virtual Teams) ลักษณะการทำงานจะเป็นทีม แต่สภาพการทำงาน
จะแยกกันอยู่ ดังนั้นจึงต้องการระบบในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันที่มีประสิทธิภาพ
ซึ่งอาศัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทีมจะมุ่งเน้นความสำเร็จของงานเพื่อให้บรรลุ
เป้าหมายของงานร่วมกัน แต่จะมีการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ด้านความรู้สึกทางสังคม
ในระดับต่ำ
ข้อควรระวัง : การทำงานเป็นทีมไม่ได้เป็นคำตอบในการแก้ไขปัญหาเสมอไป เนื่องจาก
การทำงานเป็นทีมต้องใช้เวลาและทรัพยากรมากกว่าการทำงานคนเดียว
ยกตัวอย่างเช่น
• ต้องเพิ่มการติดต่อสื่อสารมากขึ้น
• ต้องบริหารความขัดแย้งระหว่างกัน
• ต้องมีการจัดการประชุม
• ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม
อย่างไรก็ตามในบางกรณีผลประโยชน์ที่ได้จากการทำงานเป็นทีมก็จะได้รับผลตอบแทน
ที่คุ้มค่า ดังนั้น ผู้บริหารต้องทำการประเมินว่างานใดควรทำคนเดียว และงานประเภทใด
ที่ต้องใช้ความร่วมมือของทีม
คำถาม 3 ข้อ เพื่อดูว่าควรใช้วิธีการทำงานเป็นทีมในการทำงานหรือไม่
1. งานนั้นสามารถทำได้ดีขึ้นหรือไม่ หากใช้คนมากกว่าหนึ่งคน
2. งานนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อทุกคนในกลุ่ม หรือ เพื่อคนใดคนหนึ่ง
3. การเลือกใช้ประเภทของทีมให้เหมาะสมกับสถานการณ์
การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ
1. วัตถุประสงค์ที่ชัดเจนและเป้าหมายที่เห็นพ้องต้องกัน เพื่อใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติงาน
ที่ต้องการทำให้องค์การบรรลุผลสำเร็จที่คาดหวังไว้ในการดำเนินงานให้เป็นไปตามภารกิจ
ขององค์การ
- การกำหนดวัตถุประสงค์ที่ดี โดยให้ผู้นำและสมาชิกภายในทีม มีส่วนร่วมในการกำหนด
หน้าที่ความรับผิดชอบและวัตถุประสงค์ร่วมกัน ควรกำหนดจุดมุ่งหมายไว้ให้ชัดเจนที่ผล
งานมากกว่าการกระทำ
- ประโยชน์ของการกำหนดวัตถุประสงค์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ใช้เป็น
เครื่องมือในการรวมพลังในการทำงาน และใช้เป็นเครื่องมือวัดความสำเร็จหรือความ
ล้มเหลวในงาน
- คุณลักษณะของวัตถุประสงค์ที่ดี คือ เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร เข้าใจได้ง่าย
สามารถปฏิบัติได้จริง ไม่ขัดต่อข้อบังคับและนโยบายอื่นๆในหน่วยงาน
2. ความเปิดเผยต่อกันและการเผชิญหน้าเพื่อแก้ปัญหา เป็นสิ่งสำคัญต่อการทำงานเป็น
ทีมที่มีประสิทธิภาพ สมาชิกในทีมจะต้องการแสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผย
ตรงไปตรงมา แก้ปัญหาอย่างเต็มใจและจริงใจ การแสดงความเปิดเผยของสมาชิกในทีม
จะต้องปลอดภัย พูดคุยถึงปัญหาอย่างสบายใจ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันและทำงานร่วมกัน
เป็นอย่างดี โดยมีการเรียนรู้เกี่ยวกับบุคคลอื่นในด้านความต้องการ ความคาดหวัง
ความชอบหรือไม่ชอบ ความรู้ความสามารถ ความสนใจ ความถนัด จุดเด่นจุดด้อยและ
อารมณ์ รวมทั้งความรู้สึก ความสนใจนิสัยใจคอ
3. การสนับสนุนและความไว้วางใจต่อกัน สมาชิกในทีมจะต้องไว้วางใจซึ่งกันและกัน
โดยทีละคนมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา โดยไม่ต้องกลัวว่าได้รับ
ผลร้ายที่จะมีต่อเนื่องมาภายหลัง สามารถทำให้เกิดการเปิดเผยต่อกัน และกล้าที่จะเผชิญ
หน้าเพื่อแก้ปัญหาต่างๆได้เป็นอย่างดี
4. ความร่วมมือและการให้ความขัดแย้งในทางสร้างสรรค์ ผู้นำกลุ่มหรือทีมจะต้องทำ
งานอย่างหนักในอันที่จะทำให้เกิดความร่วมมือดังนี้
4.1 การสร้างความร่วมมือกับบุคคลอื่น ในการสร้างความร่วมมือเพื่ความเข้าใจซึ่งกันและ
กันและมีบุคคลอยู่สองฝ่ายคือ ผู้ขอความร่วมมือ และผู้ให้ความร่วมมือ
ความร่วมมือจะเกิดขึ้นได้เมื่อฝ่ายผู้ให้เต็มใจและยินดีจะให้ความร่วมมือ
เหตุผลที่ทำให้ขาดความร่วมมือไม่ช่วยเหลือกัน คือ การขัดผลประโยชน์ ไม่อยากให้คนอื่น
ได้ดีกว่า สัมพันธภาพไม่ดี วัตถุประสงค์ของทั้งสองฝ่ายไม่ตรงกัน ไม่เห็นด้วยกับวิธีทำงาน
ขาดความพร้อมที่จะร่วมมือ หรืองานที่ขอความร่วมมือนั้น เลี่ยงภัยมากเกินไป หรือเพราะ
ความไม่รับผิดชอบต่อผลงานส่วนรวม
4.2 การขัดแย้ง หมายถึง ความไม่ลงรอยกันตามความคิด หรือ การกระทำที่เกิดขึ้นระหว่าง
สองคนขึ้นไป หรือระหว่างกลุ่ม โดยมีลักษณะที่ไม่สอดคล้อง ขัดแย้ง ขัดขวาง ไม่ถูกกัน
จึงทำให้ความคิดหรือการทำกิจกรรมร่วมกันนั้น เสียหาย หรือดำเนินไปได้ยากไม่ราบรื่น
ทำให้การทำงานเป็นทีมลดลง นับเป็นปัญหา อุปสรรคที่สำคัญยิ่ง
- สาเหตุของความขัดแย้ง ผลประโยชน์ขัดกัน
- ความคิดไม่ตรงกัน หรือ องค์กรขัดแย้งกัน
- ความรู้ความสามารถต่างกัน ทำให้มีลักษณะการทำงานต่างกัน
- การเรียนรู้ต่างกัน ประสบการณ์ที่มีมาไม่เหมือนกัน
- เป้าหมายต่างกัน
4.3 วิธีแก้ความขัดแย้ง การแก้ความขัดแย้งเป็นเรื่องของทักษะเฉพาะบุคคล การแก้ปัญหา
ความขัดแย้งในการทำงานเป็นทีม ควรใช้วิธีการแก้ปัญหาร่วมกัน ไม่พูดในลักษณะที่
แปลความหรือมุ่งตัดสินความ ไม่พูดในเชิงวิเคราะห์ ไม่พูดในลักษณะที่แสดงตนเหนือกว่า
ผู้อื่น หรือไม่พูดในลักษณะที่ทำให้ผู้อื่นเจ็บปวด เสียหน้า อับอาย เจ็บใจ หรือการพยายาม
พูดหาประเด็นของความขัดแย้ง ไม่กล่าวโจมตีว่าใครผิดใครถูก
5. กระบวนการการทำงาน และการตัดสินใจที่ถูกต้องและเหมาะสม งานที่มีประสิทธิภาพนั้น
ทุกคนควรจะคิดถึงงานหรือคิดถึงผลงานเป็นอันดับแรก ต่อมาควรวางแผนว่าทำอย่างไร
งานจึงจะออกมาดีได้ดังที่เราต้องการ อย่างไรก็ตามก่อนที่จะตัดสินใจนั้นจุดมุ่งหมาย
ควรจะมีความชัดเจนและสมาชิกทุกคน ควรมีความเข้าใจในจุดมุ่งหมายของการทำงาน
เป็นอย่างดี
จุดมุ่งหมายที่ชัดเจนถือเป็นหัวใจสำคัญด้วยเหตุนี้จุดมุ่งหมายควรต้องมีความชัดเจนและ
สมาชิกทุกคนมีความเข้าใจอย่างดี เพราะจะนำไปสู่แนวทางแนวทางในการทำงานว่าต้องทำ
อย่างไร จึงจะบรรลุตามเป้าหมายของงาน ให้ได้ผลของงานออกมาได้อย่างดีที่สุด
การตัดสินใจสั่งการเป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานของการบริหารงาน ผู้บริหารหรือผู้นำทีม
เป็นบุคคลสำคัญในการที่จะมีส่วนในการตัดสินใจ วิธีการที่ผู้บริหารใช้ในการตัดสินใจ
หลายวิธีคือ ผู้บริหารตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหา โดยไม่ต้องซักถามคนอื่นหรือผู้บริหารจะรับฟัง
ความคิดเห็นก่อนตัดสินใจ กล่าวคือ ผู้บริหารยังคงตัดสินใจด้วยตนเองแต่ขึ้นอยู่กับความ
คิดเห็นและข้อมูลอื่นๆ ที่ผู้บริหารได้รับมาจากสมาชิกของทีม บางครั้งผู้บริหารอาจจะตัดสิน
ใจร่วมกับทีมงานที่คัดเลือกมาโดยที่ผู้บริหารนำเอาปัญหามาให้ทีมงานอภิปราย แล้วให้
ทีมงานตัดสินใจหรือทีมงาน อาจจะมอบหมายการตัดสินใจให้คนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มย่อย
ที่เห็นว่าเหมาะสมก็ได้
ขั้นตอนในการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญ 4 ขั้นตอนคือ
1. ทำความเข้าใจอย่างชัดเจนในเหตุผลสำหรับการตัดสินใจ
2. วิเคราะห์ลักษณะของปัญหาที่จะตัดสินใจ
3. ตรวจสอบทางเลือกต่างๆ ในการแก้ปัญหาโดยพิจารณาถึงผลที่อาจเกิดตามมาด้วย
4. การนำเอาผลการตัดสินใจไปปฏิบัติ
5. ภาวะผู้นำที่เหมาะสม ผู้นำ หรือ หัวหน้าทีมควรทำหน้าที่เป็นผู้ชี้แนะประเด็นที่สำคัญ
ในการทำงานตามบทบาทของผู้นำ คือ การแบ่งงาน กระจายงานให้สมาชิกทุกกลุ่มตาม
ความรู้ ความสามารถ สำหรับสมาชิกของทีมงานที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้นำ ต้องพร้อม
ที่จะทำหน้าที่ให้เหมาะสมกับงานที่ได้รับมอบหมาย โดยการให้การสนับสนุนนำทีมให้
ประสบความสำเร็จ ส่งเสริมให้มีบรรยากาศที่ดีในการทำงานเป็นทีม มีการพัฒนาบุคลากร
และทีมงาน
6. การตรวจสอบทบทวนผลงานและวิธีในการทำงาน ทีมงานที่ดีไม่เพียงแต่ดูจากลักษณะ
ของทีม และบทบาทที่มีอยู่ในองค์กรเท่านั้น แต่ต้องดูวิธีการ ที่ทำงานด้วยการทบทวนงาน
และทำให้ทีมงานได้เรียนรู้จากประสบการณ์ที่ทำรู้จักคิด การได้รับข้อมูลป้อนกลับเกี่ยวกับ
การปฏิบัติงานของแต่ละคนหรือของทีม
7. การพัฒนาตนเอง การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพพยายามที่จะรวบรวมทักษะต่างๆ
ของแต่ละคน การพัฒนาบุคลากรในองค์การมักจะมองในเรื่องทักษะและความรุ้ที่แต่ละคน
มีอยู่แล้ว ก็ทำการฝึกอบรมเพื่อปรับปรุงพัฒฯคนให้มีความสามารถสูงขึ้น อันจะมีผลดีใน
การทำงานให้ดีขึ้น ผู้บริหารหรือผู้นำต้องมีความรู้ในการบริหารคนสามารถสอนพัฒนาคน
ให้มีลักษณะที่ดีขึ้น

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

รายการบล็อกของฉัน